หนังเกี่ยวกับ วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2008 เรื่องไหนดี ?

ผมอ่านเจอในกลุ่ม line มีคนถามเกี่ยวกับหนัง ที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น ว่า มีเรื่องไหนบ้าง ก็มีคนพูดถึงหนังเรื่อง The Big Short, Too big to fail และ Margin call จึงมีคำถามต่อมาอีกว่า เรื่องไหนดีกว่ากัน และ แต่ละเรื่อง เกี่ยวกับอะไร ? ผมไม่ได้ตอบในกลุ่ม line เพราะผมอ่านเฉยๆ และ ไม่ได้ต้องการมีส่วนร่วมในกลุ่ม line ดังกล่าว แต่จะมาเขียนถึงหนังเหล่านี้ไว้ที่ตรงนี้แทนครับ

หนังทั้ง 3 เรื่องนี้ มีส่วนเกี่ยวพันกันก็คือ เป็นหนังที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ วิกฤต sub prime เหมือนๆกัน เป็นหนังที่เกิดคาบเกี่ยวในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ หนังเสนอมุมมอง และ มีสไตล์ของหนังที่ต่างกันไป

และ ใน 3 เรื่องนี้ ที่ทำมาได้ดีที่สุดคือ The Big Short ครับ สำหรับ Too big to fail และ Margin Call ทำมาได้ดีในระดับใกล้เคียงกัน ดังนั้น หากจะเลือกดูเพียงเรื่องเดียว แนะนำให้ดู The Big Short

วิกฤต sub prime นั้นเกิดขึ้นจาก น้ำมือ ของนักการเมือง และ กลุ่มทุน เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น แต่คนที่รับกรรม กลับเป็นคนชนชั้นกลาง และ คนทำงาน ตลอดจนคนจน ทั่วไป… ที่จะต้อง รับผิดชอบ ความเสียหายทั้งหมด ผ่าน การจ่ายภาษีเพื่อไปขดเชยความเสียหายทีั้งหมดที่เกิดขึ้น ตลอดจน เสียโอกาส เสียคุณภาพชีวิตของตัวเองไป เพราะ รัฐต้องเอาเงินที่มีไปชดเชยความเสียหาย แทนที่จะเอาเงินมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนส่วนใหญ่ ให้ดีขึ้น

The Big Short เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา และ ตรงจุด ตรงประเด็น หนังเดินเรื่องอย่างค่อนข้างเร็ว และ พยายามอธิบายเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ของโลกการลงทุนในตลาดเงิน ตลาดทุน ให้คนทั่วๆไป เข้าใจได้อย่างง่ายๆที่สุด อย่างไรก็ตาม คนทั่วๆไป อาจจะตามเรื่องราวไม่ค่อยทัน และ ไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่

วิกฤต ปี 2008 เกิดขึ้นเนื่องจาก การปั่น การเก็งกำไร ของตราสารหนี้ด้อยคุณภาพ ที่เรียกว่า sub prime คือเป็นหนี้ที่ปล่อยให้ผู้กู้ ที่ไม่มีคุณภาพ และ มีโอกาสกลายเป็นหนี้เสียสูง เนื่องจากผู้กู้ ไม่ได้มีรายได้ที่มั่นคงเพียงพอที่จะมาจ่ายหนี้คืน แต่เขาก็มีการปล่อยกู้กันออกไป เพื่อหารายได้ จากค่านายหน้า ค่าดอกเบี้ย และ การเอา ตราสารหนี้พวกนี้ ไปปั่นเก็งกำไร ต่อ ในตลาดรอง ของตลาดตราสารหนี้ มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า เรามีหนี้ ก้อนแรกขึ้นมาแล้ว เป็นจำนวนมาก ที่อาจกลายเป็นหนี้สูญ โดนชักดาบได้โดยผู้กู้ที่ไร้คุณภาพ ส่วนคนที่ได้ประโยชน์คือ กลุ่มทุน

การที่มีแรงซื้อจาก คนที่จริงๆแล้ว ไม่มีศักยภาพที่จะซื้อบ้าน เพียงแต่ต้องการเก็งกำไรราคาบ้าน ทำให้เกิด demand เทียมในตลาดอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้ราคาของ อสังหาริมทรัพย์ สูงขึ้น โดยไม่มีพื้นฐานรองรับ หรือ เรียกว่า เกิดฟองสบู่ ขึ้นแล้วในตลาดอสังหาริมทรัพย์ครับ

จากตราสารหนี้ ด้อยคุณภาพเหล่านี้ กลุ่มทุนได้นำไปเก็งกำไรต่อ โดยนำไปขายในตลาดรอง แต่ เนื่องจากมันด้อยคุณภาพ ไม่จูงใจนักลงทุน จึงมีการเล่นแร่แปรธาตุ นำมันเข้าไปผสมปนเป กับ ตราสารหนี้คุณภาพสูง เกรด AAA แล้วโมเมว่า ตราสารหนี้ทั้งก้อน ที่โดนยำเข้าด้วยกันนี้ มีเกรดเป็น AAA ไปโดยปริยาย ทั้งๆที่ จริงๆแล้ว มีตราสารหนี้ขยะ อยู่ในนั้นด้วย เสร็จแล้ว ก็มีการขาย package ดังกล่าว ออกไปในตลาดรอง โดยมีการปั่นกระแส เก็งกำไรให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยแนวคิดที่ว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ จะมีแต่ขึ้นไปเรื่อยๆ จะไม่ตกลงมา และ ผู้กู้ที่ผ่อนบ้านอยู่ จะไม่หยุดผ่อน จะไม่เกิดหนี้เสียขึั้นเด็ดขาด มันจึงเป็นเสมือนการบิดเบือนข้อเท็จจริง และ เป็นการเอาขยะ มาขายให้ในราคาที่สูงเกินจริง

ผู้ที่ได้ประโยชน์ ก็จะเป็นกลุ่มทุนเช่นเดิม จากค่าคอมมิชชัน และ ค่าดำเนินการต่างๆ เพียงแต่ต้องส่งทีมออกไปล่าเหยื่อ หลอกล่อ ให้คนเอาเงินมาซื้อขยะที่เขาขายเหล่านี้ไปเสีย

แต่เท่านั้น ก็ยังไม่พอ ยังมีการปั่นตลาดตราสารหนี้ ซ้ำๆ ซ้อนๆ เข้าไปอีก ด้วยการเอา packgage ขยะ ต่างๆเหล่านั้น มายำรวมกัน ซ้อนๆ เข้าไปอีก และใช้ลูกไม้เดิม ในการจูงใจ ด้วยกระแสเก็งกำไร ด้วยอัตราทด คือ มีเงิน 1 แสนบาท แต่สามารถลงทุนได้ถึง 2 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ ในการเก็งกำไร และเพื่อหาเหยื่อเข้ามาเพิ่ม เพราะ ด้วยวงเงินที่ต่ำลง ก็จะมีคนที่ ก่อนหน้า ไม่สามารถลงทุนซื้อ ตราสารหนี้ก้อนแรกได้ ก็จะเข้ามาซื้อตราสารหนี้ ในลำดับ ที่ 2 -3 -4 ….. ต่อไปเรื่อยๆ เพราะใช้เงินลงทุน น้อยลงไปเรื่อยๆ โดยมีอัตราทด สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

การปั่นกระแสเก็งกำไร เช่นนี้ ซ้ำซ้อน ไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งสร้าง demand เทียมให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึันไปเรื่อยๆ ผู้คนต่างก็แห่กันเข้ามาเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์กันมากขึ้น ซึ่งก็ยิ่งทำให้ คนที่ไร้คุณภาพ แห่กันเข้ามาขอกู้ เพื่อเอาเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึั้น ทั้งๆที่ ไม่ได้ต้องการอยู่อาศัย และทั้งๆที่ ไม่ได้มีรายได้มั่นคงพอ จะมาผ่อนจ่ายชำระหนี้แต่อย่างใด

การออกตราสารหนี้ ขยะ จึงมีเพิ่มขึั้นไปเรื่อยๆ และ ในขณะเดียวกัน การเอามันมายำ แล้วนำออกไปขายต่อในตลาดรองให้คนเก็งกำไร ก็เพิ่มขึันไปเรื่อยๆ เช่นกัน จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์ คือ กลุ่มทุน และ นักการเมือง ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องกัน เช่นเดิม ส่วนประชาชนทั่วไป ไม่ได้ประโยชน์อะไนจากเรื่องนี้

เรื่องราว จะดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบใดก็ตาม ที่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ลดลง และ ไม่มีใคร เบี้ยวหนี้ ที่กู้มา
ปริมาณเงินกู้ ปริมาณ หนี้ ก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครสนใจถึง ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คิดเพียงเรื่องการเก็งกำไร และ การหาเงินง่ายๆ เท่านั้น

แต่…. อะไรที่เป็นฟองสบู่ ถึงวันหนึ่ง ก็จะต้อง แตกสลายไปเสมอ…. เพราะทุกอย่าง ถูกปั่นขึ้นมา โดยไม่มีพื้นฐานรองรับ เช่นเดียวกัน ถึงวันหนึ่ง เมื่อผู้กู้ไร้คุณภาพ เริ่มไม่สามารถผ่อนจ่ายเงินกู้ได้ การเบี้ยวหนี้ จึงเริ่มเกิดขึ้น การสร้างบ้านขึั้นมาเกินความต้องการ ทำให้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ เริ่มลดลง และทั้งสองเหตุการณ์นี้ จะทำให้เกิดอาการของ Death spiral เกิดขึัน คือ
คนไม่ผ่อนบ้าน demand ลด supply เพิ่ม ราคาบ้านก็เริ่มตก

ราคาบ้านเริ่มตก คนก็ยิ่งไม่อยากซื้อบ้าน คนที่ผ่อนอยู่ ก็ไม่อยากผ่อน เพราะราคาบ้านที่ฝันว่า จะเพิ่มไปเรื่อยๆ กลับกลายเป็นตกต่ำลงมา จึงเริ่มขายบ้านทิ้ง เริ่มไม่ผ่อนหนี้ จึงยิ่งทำให้ supply เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ราคาบ้านยิ่งตก…

ราคาบ้านยิ่งตก คนก็ยิ่งไม่อยากซื้อบ้าน คนที่ผ่อนอยู่ ก็ไม่อยากผ่อน………
แล้วก็วน เป็น วงจร ที่ดำดิ่งลงไป แบบนี้เรื่อยๆ….

เมื่อผู้กู้เริ่มชักดาบ ราคาบ้านเริ่มตก ตราสารหนี้ ด้อยคุณภาพที่ออกไป โดยใช้ความเชื่อที่ว่า คนซื้อตราสารหนี้ จะได้รับดอกเบี้ย ได้รับเงินต้นคืนจากผู้กู้ ก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะตอนนี้ อาจโดนเบี้ยว ทั้งดอกเบี้ย และ เบี้ยวทั้งเงินต้น จึงเริ่มทำให้ คนที่ถือตราสารหนี้เหล่านี้ เริ่มขายตราสารหนี้ ทิ้งออกไป มูลค่าของตราสารหนี้ พวกนี้ กำลังจะลดลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นขยะสมชื่อ

ในขณะเดียวกัน เมื่อตราสารหนี้ขยะ เริ่มมีปัญหา พวก package ต่างๆที่ นำตราสารหนี้ขยะพวกนีั มายำรวมกัน เพื่อหลอกขายนักลงทุน ก็มีปัญหาแบบเดียวกันคือ เริ่มเป็นขยะสมชื่้อ และ ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว ในอัตราเร่ง เพราะตลาดพวกนี้ เป็นพวกที่ใช้อัตราทด ในการเก็งกำไร นั่นคือ ยิ่งรวยเร็ว ก็ยิ่งเจ๊งเร็ว เช่นกัน ผู้คนจึงเริ่มเจ๊ง และ ขาดทุนกันเป็นจำนวนมากให้เห็น

และในขณะเดียวกัน ท่ามกลางการเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่งเหล่านี้ กลุ่มทุน ได้เก็บเกี่ยว กำไรจากค่านายหน้า และ ดอกเบี้ย ตลอดจน ส่วนต่างราคา ไปเรื่อยๆ และ ผ่องถ่ายไปสู่กระเป๋าคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่เบื้องหลัง กลุ่มทุน และ ธนาคาร ได้ปล่อยเงินกู้ ให้คนไปเก็งกำไร กันในตลาดตราสารหนี้ ทั้งในตลาดหลัก และ ตลาดรอง อย่างมหาศาล เมื่อเกิดการถล่มของราคา จึงทำให้ ธนาคาร เกิดหนี้เสีย จำนวนมหาศาล ขึันมาในทันที

เมื่อ ธนาคาร เกิดหนี้เสีย จนเกินกว่าจะชดใช้ได้ไหว สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาตามมา คือ ภาวะ Bank Run นั่นคือ ธนาคารล้มละลาย เงินฝากที่ประชาชน ฝากไว้ในธนาคารจะหายวับไปทั้งหมด หลังจากนั้น คือ การล่มสลายทางเศรษฐกิจ อันยากจะแก้ไขได้

ดังนั้น นักการเมือง จึงตัดสินใจ ที่จะเอาเงินภาษีของประชาชน เข้าไปอุ้มกิจการ ธนาคาร ทั้งหลายนั้นไว้แทน เพื่อไม่ให้ล้มละลาย นั่นหมายถึง การเอาเงินภาษี ของประชาชน ไปชดใช้ ชดเชย ให้กับ ผลขาดทุนทั้งหมดที่เกิดขึัน โดยฝีมือของกลุ่มทุน ที่ปั่นตลาดเก็งกำไรมาโดยตลอด โดยนักการเมืองอ้างว่า หากไม่ทำ ก็จะยิ่งทำให้เกิดผลเสียหายใหญ่หลวง ตามมา

สรุปสุดท้ายคือ กลุ่มทุน และ ธนาคาร ด้วยความช่วยเหลือของนักการเมือง ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆเลย เพราะผลขาดทุนทั้งหมด ชดเชยด้วยเงินภาษีของประชาชน กลุ่มทุน ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องเอาเงินมาชดใช้ กำไรที่ได้ไปก่อนหน้านี้ ก็เก็บเข้ากระเป๋าเงียบๆ คุกก็ไม่ต้องติด ลอยตัวไปสบายๆ ท่ามกลาง หายนะ ที่เกิดขึ้นกับ

ในขณะเดียวกัน… ชนชั้นกลาง และ ประชาชนทั่วไป ที่ต้องตกงาน สูญเสียบ้าน สูญเสียทรัพย์สิน หมดเนื้อ หมดตัว… จากเกม ธุรกิจ เก็งกำไร ถูกเอาเงินภาษีไปชดเชยให้ กลุ่มทุนใหญ่ ในเกมเก็งกำไร ที่คนตัวเล็ก ตัวน้อย เป็นได้เพียงแค่เหยื่อ ในเกมนี้…..

Too Big To Fail กลับเป็น การเล่าเรื่อง โดยมองมาจากมุม ของนักการเมือง และกลุ่มทุน แทน โดยหนังเล่าเรื่อง ด้วยความเห็นอก เห็นใจ เข้าอก เข้าใจ ว่า นักการเมือง และ กลุ่มทุน กำลังเผชิญหน้ากับ ภาวะ วิกฤตอันใหญ่หลวง และ มีแต่พวกเขาเท่านั้น ที่จะมาช่วยกอบกู้โลก ให้อยู่รอดต่อไป (โดยหนังไม่ได้เล่าเลยว่า ใครเป็นผู้ที่ทำให้เกิดวิกฤต แค่เริ่มเรื่องจากว่า วิกฤตเกิดขึันแล้ว)

จากผู้ร้าย… จึงกลายเป็น วีรบุรุษ ได้โดยฉับพลัน ผ่าน การเล่าเรื่องด้วยมุมมอง เช่นนี้….

หนังเน้นให้เห็น การมองเหตุการณ์ผ่าน สายตา ของ รมว. คลัง ว่า เขาต้องเจอกับสภาวะ กดดันมากขนาดไหน ในการที่จะแก้สถานการณ์ ที่จะต้องเรียกทุกๆฝ่าย ให้เข้ามาร่วมมือกัน ช่วยกัน แก้ปัญหา ไม่ว่า จะเป็น นักการเมืองจากทุกๆพรรค ในรัฐสภา นายธนาคาร จากทุกๆ ธนาคาร ซึ่งทุกๆคน ทุกๆฝ่าย ต่างก็พยายามจะคิดแต่ รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง

หนัง สร้างภาพอันน่าเห็นใจว่า นายธนาคาร ต้องมาร่วมประชุมแก้ปัญหา สร้างภาพวีรบุรุษว่า นายธนาคาร ต้องระดมเงินเข้ามาช่วยกัน แต่ในที่สุดแล้ว ก็กลายเป็นว่า ตกลงกันไม่ได้ และ ในที่สุด เงินนั้น ได้มาจาก ภาษีของประชาชนแทน และ เช่นเดียวกัน กลุ่มทุน และ นายธนาคาร ไม่ต้องรับผิดชอบ ชดใช้ สิ่งใดทั้งสิ้น หนังจบลงตรงที่ว่า การแก้ไข วิกฤต ผ่านพ้นไปได้ในที่สุด

Margin Call ก็สร้างมาจากเหตุการณ์เดียวกัน แต่ทีนี้ เป็นมุมมองในเหตุการณ์ของบริษัทนายหน้า ที่อยู่ในตลาดตราสารหนี้แทน เป็นมุมมองที่ แสดงให้เห็นถึง การเอาตัวรอดของธุรกิจ ในตลาดเก็งกำไร ที่พร้อมทำทุกๆอย่าง เพื่อเอาตัวรอด และ รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง เอาไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

กลุ่มทุนที่พร้อมจะเชือด ลูกค้า เชือดนักลงทุน เชือดพนักงานของตัวเอง พร้อมจะทำทุกๆอย่าง หลอกขายตราสารหนี้ขยะ ที่ราคากลายเป็น ศูนย์ไปแล้ว แต่กลับหลอกขายให้กับ หน้าโง่คนไหนก็ได้ ที่พร้อมจะซื้อมันต่อไปในราคาเต็ม ทั้งๆที่ จริงๆ ราคาคือ ศูนย์

หนังแสดงให้เห็นถึง ความเหี้ยมโหด เหี้ยมเกรียม ความเลือดเย็น ของวงการธุรกิจการเงิน และ หนังเรื่องนี้เป็นการเล่าเรื่อง ในกรอบเวลาสั้นๆ เพียง ไม่กี่วันเท่านั้น ไม่ได้เล่าเรื่องข้ามช่วงเวลา เป็น หลายๆปี เหมือน The Big Short หนังเรื่องนี้ ไม่ได้นำเสนอ มุมมองออกไปข้างนอกเลย และ ไม่ได้พูดถึง ส่วนอื่นๆ ทั้งสิ้น เรียกว่า โฟกัส เฉพาะจุดในการเล่าเรื่องราวทั้งหมด

และที่แปลกประการหนึ่งคือ ถึงหนังจะมีชื่อว่า Margin Call แต่เรื่องราวในหนัง ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับการทำท Margin Call เลยแม้แต่น้อย ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมถึงตั้งชื่อหนังว่า Margin Call


ในทั้ง 3 เรื่องนี้ ผมคิดว่า The Big Short ทำมาได้ดีที่สุด และ เล่าเรื่องได้ตรงไป ตรงมา ตรงกับข้อเท็จจริง หนังเดินเรื่องค่อนข้างเร็ว ประเด็นเนื้อหา ที่หนังเล่ามีมาก เรื่องราวซับซ้อน ดังนั้น คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวง ตลาดเงิน ตลาดทุน อาจจะต้องดูหนังเรื่องนี้ หลายๆรอบ และค่อยๆทำความเข้าใจไปทีละประเด็น ก็จะช่วยให้ดูหนังได้มีอรรถรส มากขึ้น

Margin Call ก็ เล่าเรื่องได้ ok ครับ มันก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ที่เขาว่า กันว่า เอาเรื่องราว มาจาก ธนาคารแห่งหนึ่ง ที่ต้องล้มละลายไปในวิกฤตครั้งนี้

Too Big To Fail ถึงแม้ จะทำหนังมาได้ดี แต่ หากพูดถึง ในข้อเท็จจริง หนังนำเสนอผิดประเด็น ผิดไปจากข้อเท็จจริง และ ไม่ได้เล่าเรื่องราว ให้ครอบคลุม ตามความเป็นจริงมากพอ สร้างภาพ จากคนผิด ให้กลายเป็นคนที่น่าเห็นใจ และ สงสาร ไปแทน สร้างภาพจากคนที่ก่อปัญหา ให้กลายเป็น วีรบุรุษ ผู้กอบกู้เหตุการ์ไปเสียยังงั้น ? แบบ ดื้อๆ ตามใจชอบ ?

นั่นเป็นคำตอบที่ผมพยายามสรุป ให้ฟังอย่างสั้นๆ และ กระชับที่สุด เท่าที่ผมพอจะทำได้ เรื่องราวจริงๆ ยังมีรายละเอียดอีกมาก เกินกว่าจะเขียนเล่าทั้งหมดได้ หากท่านใด มีความสนใจ ที่จะศึกษาค้นคว้า ผมคิดว่า ก็ควรทำ เพื่อเรียนรู้ อดีต เพื่อป้องกัน เรื่องราว แบบเดียวกันให้เกิดขึันในอนาคต….

อย่างไรก็ตาม… มันน่าเสียใจว่า บทเรียนครั้งก่อน ก็ไม่ได้ช่วยให้เราเรียนรู้อะไร เลย….
เพราะในปัจจุบันนีั้…. ก็มีแนวโน้มว่า จะเกิดปัญหาขึ้นมา ในตลาดเงิน ตลาดทุน อีกครั้ง….
และก็ เหมือนเดิม… ตัวต้นเหตุ ก็ยังเป็น ความละโมภ และ ความฉ้อฉล ของคนกลุ่มเดิมๆ อีกครั้งหนึ่งครับ….

ในเวลานี้… หนี้บัตรเครดิต ในประเทศหนึ่ง กำลังอยู่ในระดับสูงที่สุดครั้งหนึ่ง ตั้งแต่มีประเทศนั้นมา….
ราคาอสังหาริมทรัพย์ ถูกปั่นขึ้นไปอีกครั้ง และ ตอนนี้ กำลังทำท่า ง่อนแง่น ง่อนแง่น.. อีกครั้ง….
เพดานหนี้ ของประเทศหนึ่ง กำลังถูกยกสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะรัฐบาล ใช้จ่ายเกินตัว….
เงินเฟ้อ ที่เกิดจากการพิมพ์เงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ตามใจชอบ และ เงินที่พิมพ์ออกมานั้น ก็มีแต่กลุ่มทุน ที่เข้าถึงได้ และ นำเงินก้อนนั้น มาปั่นเก็งกำไร ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทุกชนิด….

ประชาชน คนธรรมดา ชนชั้นกลาง และ คนจน ก็ตกอยู่ในสภาพเดิม คือ ไม่เคยได้อะไร จากสิ่งที่เกิดขึ้น ได้แต่รอวันเช็คบิล เหมือนครั้งก่อนๆ….

หนี้ และ ฟองสบู่ กำลังเกิดขึ้น เหมือนกับในอดีต… ซึ่งไม่เคยถูกจดจำไว้เป็นบทเรียนเลย แม้แต่ครั้งเดียว…..