Espresso Bar ของผม

ผมเป็นคนที่ชอบทานกาแฟครับ ซึ่งแต่ไหน แต่ไร.. ผมก็ไปทานกาแฟ ที่ร้าน ทุกเช้า เช้าละ 1 แก้ว เสมอ.. ทุกๆวัน… จนกระทั่ง.. เกิดการระบาดของโควิด ซึ่ง สถานการณ์มันก็เร่ิมรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะออกไปที่ร้านกาแฟทุกๆเช้า… และแล้ว.. วันหนึ่ง ในเดือน ก.ค. 2564 ผมก็ตัดสินใจที่จะหยุดไปร้านกาแฟ เพื่อลดความเสี่ยง ในการติดเชื้อโควิด

และในเมื่อ ตัวผมเองไปร้านกาแฟไม่ได้…
งั้น ผมก็ทำ Espresso Bar เป็นของตัวเอง เลยแล้วกัน…

อย่างไรก็ตาม… ที่แล้วมา… ผมไม่เคยคิดจะชงกาแฟ ทานเอง เนื่องจาก ผมทานแต่ Espresso และ Espresso นั้น ต้องการ Espresso Machine ซึ่งหากว่า มีคุณสมบัติดีๆ ฟังก์ชันครบๆ สเปคเทพๆ.. ราคามันก็แพงเหลือกำลัง…. แพงเกินกว่าที่จะซื้อมา ชงทานเองคนเดียว วันละแก้ว… ส่วน Espresso Machine รุ่นต่ำๆ ก็ทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ… ซื้อมาใช้คงไม่ work แน่ๆ… นี่ยังไม่นับเรื่องความซับซ้อนของเครื่อง ซึ่งต้องการ การดูแลรักษาตลอดการใช้งาน และ หากเสียขึ้นมา ก็ต้องตามช่างมาดูให้เท่านั้น ไม่สามารถซ่อมแซม ด้วยตัวเองได้เลย…

แล้ววันหนึ่ง…. ผมก็เห็น เพื่อนคนหนึ่งใน Facebook แชร์รูป ของ Flair Pro 2 มาให้เห็น…. ผมลองกดเข้าไปอ่านดู… แล้วก็เริ่มเกิดความสนใจ และ เริ่มเกิดความหวังว่า… การชง Espresso ทานเองที่บ้าน ไม่ได้เป็นความหวังที่ไกลเกินไปนัก…..

เครื่องชงกาแฟ ของ Flair นั้น… เป็น Manual Espresso Machine ที่มีราคาสมเหตุสมผล ได้รับการรีวิวที่ดี จากผู้ใช้ทั่วโลก การออกแบบเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน การใช้งาน ดูแล รักษา ไม่ซับซ้อน หากว่า เกิดความเสียหาย ก็สามารถซื้ออะไหล่ มาซ่อมแซม ดูแล ด้วยตัวเองได้ไม่ยาก…

ในการชง กาแฟ Espresso นั้น เราจะต้องดูแล ปัจจัยดังนี้
1. Grinding
2. Dose
3. Time
4. Pressure
5. Temperature

การใช้ Flair สามารถทำให้เรา ควบคุมปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ได้เหมือน Espresso Machine ราคาสูงๆได้ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินกำลัง และ เกินจำเป็นครับ และ เมื่อเห็นลู่ทางดังนั้น ผมจึงเริ่มอ่านข้อมูล ค้นหาความเห็นต่างๆ ดูคลิป รีวิว ต่างๆ เก็บรวบรวมความเห็น และ ข้อมูลต่างๆ และ เร่ิมต้น… สร้าง Espresso Bar ของผม ขึ้นมา…

และต่อไปนี้… คือ อุปกรณ์ต่างๆ.. ที่ผมได้ตัดสินใจ เลือกซื้อ เลือกใช้ครับ….

Decent DE-1 Pro
USD$ 3,500
ข้อมูล คำแนะนำ และ ความคิดเห็นของผมต่อ DE-1 อ่านต่อที่ Link นี้ครับ
https://avguide.avbestbuy.com/archives/6168

Zentis NZR-64 (Turin DF-64)
(upgrade เป็น เฟือง SSP Red Speed Espresso High Uniformity)
15,900 บาท

รีวิว NZR-64 อ่านได้ที่ Link นี้ครับ
https://avguide.avbestbuy.com/archives/6408

ชุด modify สำหรับ Zentis ครบชุด 1,500 บาท
สรุป – แนะนำให้ซื้อเฉพาะตัว Grind indicator ตัวเดียวครับ ตัวอื่นไม่ต้องซื้อครับ

เนื่องจาก NZR-64 หรือ DF-64 นั้น มีข้อจำกัดบางด้าน จึงได้มีคนหาทางแก้ไข หรือ ปรับปรุง ด้วยการ พิมพ์ชิ้นงาน 3D ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งก็ได้มี พ่อค้าคนไทย ได้พิมพ์งานพวกนี้ ออกมาขาย ผมเองได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ซื้อจากคนที่เขาทำขาย ราคาถูกกว่า ไปจ้างคนพิมพ์งาน 3D ทำให้ครับ
ชุด modify ชุดนี้ มีทั้งหมด 4 ชิ้นนี้ สามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ครับ

  1. Grind Indicator (Pointer) อันนี้ต้องมีครับ เพราะหลังจาก หาจุด 0 ได้แล้ว จุด 0 ดังกล่าว อาจจะอยู่ในตำแหน่งใดๆก็ได้ ที่ไม่ใช่ 6 นาฬิกา เราจึงจำเป็นต้องมี pointer ชี้ไปที่จุด 0 ครับ หลังจากนั้น จึงจะปรับ ความละเอียดในการบดอีกทีว่า เหมาะสมที่เบอร์ไหน (หากต้องการประหยัด จะ DIY ด้วย พลาสติก รัดสายไฟ แทนก็ได้นะครับ เห็นบางท่านทำใช้ ไอเดียดีมากๆ)
  2. Anti PopCorn อันนี้ ไม่แนะนำครับ เพราะหลังจากทดลองแล้ว ผมเริ่มกังวลว่า พลาสติกที่เกิดจาก 3D printing นั้น ไม่ได้ปลอดภัยสำหรับการใช้ประกอบอาหาร และกังวลเรื่อง เศษผง ละอองเล็กๆของพลาสติก ที่อาจหล่นไป ผสมกับ กาแฟ ในการทานได้ ผมจึงถอดตัว Anti Popcorn ออกไป และ เลิกใช้งานครับ
  3. Dosing Cup Adaptor อันนี้ ไม่ถึงกับจำเป็นครับ แต่มีก็ดีเหมือนกัน จะได้จ่อแก้ว เข้าไปรองรับผงกาแฟ ใกล้ๆ ลดปัญหาเรื่องการกระเด็นของผงกาแฟครับ แต่คงไม่ได้ลดเรื่อง static เท่าไร เรื่องนั้น ต้องใช้วิธีพ่นน้ำเข้าไปที่เม็ดกาแฟ เล็กน้อยก่อนบดครับ
    Update – ตอนนี้ ผมเลิกใช้ Dosing Cup adaptor ไปแล้วครับ เพราะตั้งแต่ ผมไม่เกิดปัญหาเรื่องการอุดตันของ Declumper ผมจึงตัดสินใจที่จะบดผงกาแฟ ลงไปที่ portafilter ตรงๆแทน แล้วใช้ Dosing Collar for Portafilter แทนครับ เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า และ ทำงานได้ดีครับ
  4. 10 degree Tilt Base อันนี้ ไม่จำเป็นครับ น่าจะมีผลต่อการใช้งาน ค่อนข้างน้อย เพราะผู้ออกแบบ และ ผู้รีวิว ก็บอกไว้แบบนั้น แต่ผมก็ตัดสินใจซื้อมาใช้ เพื่อจะทดลองดูครับ ไหนๆ ก็ไหนๆ ครับ ประเด็นที่ต้องทดลองคือเรื่อง Alignment ครับ ว่า ฐานนี้ จะช่วยให้ Alignment ดีขึ้นจริงหรือไม่
    updated – ผมพบว่า Base อันนี้ ช่วยให้ ผงกาแฟที่บดแล้ว ไหลลงไปใน portafilter ได้ดีกว่าครับ ไม่มีผงกาแฟไปค้างอยู่ที่ขอบของ dosing collar ครับ ผมจึงยังคงใช้ Base ตัวนี้ต่อไปครับ

    Zentis NZR-64 จำเป็นที่จะต้อง modify ในบางเรื่องครับ เพื่อแก้ปัญหาในการใช้งานบางอย่าง ซึ่งเท่าที่ดู รีวิว และ ข้อแนะนำต่างๆ ผมก็คิดว่า อุปกรณ์ modify ชุดนี้ ช่วยแก้ปัญหาได้จริงครับ

    สิ่งที่ ต้อง Modify นั้น ผมคิดว่า ควรทำแค่สองอย่าง พอครับ อย่างอื่น ไม่จำเป็น ไม่ต้องทำ และบางอย่าง ห้าม ทำครับ
    สิ่งที่ควรทำคือ
    1. Pointer อันนี้ จำเป็นต้องมี
    2. Declumper อันนี้ จำเป็นต้องทำครับ เพราะไม่ง้น จะมีปัญหาเรื่องการอุดตัน แต่ในการทำนั้น ให้เลือกใช้เฉพาะ Silicone หรือ Stainless ที่เป็น Food Grade เท่านั้นครับ ห้ามใช้ วัสดุทีทำมาจาก พลาสติก หรือ 3D printing โดยเด็ดขาดครับ

    แต่ในขณะเดียวกัน หากถามว่า ถ้าไม่ซื้อชุด modify ต่างๆเลย หรือไม่ แก้ไข เพิ่มเติมอะไรเลย DF-64 (NZR-64) ยังสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือเรื่อง Declumper ครับ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาอุดตัน ดังนั้น หากไม่ทำการ modify เลย ผมไม่แนะนำให้ใช้ Zentis NZR-64 ครับ หากว่า ต้องการเครื่องที่ไม่ต้องทำอะไรกับมันเลย ก็แนะนำให้ไปดู Niche Zero ครับ แต่ก็จะเจอปัญหาเรื่องราคาขาย ที่สูงเกินไปมาก ครับ

Dosing Collar​ on 58mm​ Portafilter​ for NZR-64 (DF-64)
330 บาท
สรุป – แนะนำ ครับ ทำงานได้ดี ราคาเหมาะสมครับ

Dosning Collar อันนี้ เป็นผลงานของคนไทย 100 % ครับ เป็นผู้ที่คิดค้นทำขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหา Static ของ NZR-64 นับว่า ไอเดียดีมากทีเดียวครับ ตัว Dosing Collar ทำสูงขึ้นไปครอบคลุม ล้อมรอบ อย่างสมบูรณ์ ผงกาแฟ จึงแทบจะเรียกว่า หมดโอกาสที่จะกระจาย เลอะเทอะ ไปที่อื่นๆ ทางผู้ผลิตทำมาเป็นสองแบบนะครับ คือ
1. สำหรับใช้กับ Portafilter 58 mm.
2. สำหรับใช้กับ Dosing Cup 58 mm.
ใครสนใจ สามารถสั่งซื้อได้กับ ผู้ผลิตโดยตรงครับ ที่ https://www.facebook.com/kullapatss

ผมเลือกซื้อรุ่นที่ใช้กับ Portafilter ครับ เพราะตัว Dosing Cup นั้น ผมมีตัวที่เป็น PortaFilter Adaptor 3D printer อยู่แล้ว จึงซื้อ Collar สำหรับ Portafilter มาลองใช้ดู ตัวเดียว ผมเอง ยังไม่แน่ใจว่า ผมจะชอบ บดผงกาแฟลงใน Dosing Cup ก่อน หรือว่า จะชอบ บดผงกาแฟ ลงไปใน Portafilter โดยตรง คงต้องรอให้มีโอกาส ได้ทดลองทำจริงๆ ผมจะทดลองทั้งสองวิธี แล้วจึงเลือกวิธีใด วิธีหนึ่งครับ

Update – ตอนนี้ ผมหันมาใช้ Dosing Collar on Portafilter อันนี้ แทนเป็นการถาวรแล้วครับ เพราะตั้งแต่ ผมแก้ไขปัญหาการอุดตันของ Declumper ของ NZR-64 ได้ ผมก็หันมาบดผงกาแฟ ลงใน Basket โดยตรงแทน ไม่ได้บดลง Dosing Cup อีกต่อไปแล้วครับ ผมพบว่า Dosing Collar อันนี้ ทำงานได้ดีครับ และ สะดวกดี ข้อเสียประการเดียวคือ เวลาที่เราบดเมล็ดกาแฟ แรงสั่นสะเทือน จะทำให้ Dosing Collar อันนี้ สั่นกระทบกับ Basket ทำให้เกิดเป็นเสียงรบกวนได้ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรนักครับ เพราะบดเมล็ดกาแฟไม่นาน และ หากเราจับให้มั่นนิ่ง เสียงรบกวน นั้น ก็จะหายไปครับ

กาไฟฟ้า Timemore 400 ml.
2,000 บาท
สรุป – แนะนำครับ ราคาเหมาะสม คุณภาพดี ทำงานได้ดี คุ้มค่าครับ

จริงๆแล้ว ตอนแรก ผมไม่ได้กะว่า จะซื้อ กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เพิ่มเลยนะครับ เพราะมีอยู่แล้ว แต่พอดี เห็นของ Timemore กำลังลดราคาพอดี และ มันเป็นกาไฟฟ้า แบบควบคุมอุณหภูมิได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ผมต้องการอยู่พอดี เพราะการชง Espresso ควรจะควบคุมอุณหภูมิน้ำไว้ที่ 95 องศา อีกทั้่ง ราคาค่าตัว ก็ไม่ได้สูงมาก อย่างกาไฟฟ้าของ Fellow EKG ผมจึงตัดสินใจซื้อกาของ Timemore มาใช้งานครับ ข้อดีของมันอีกอย่างคือ ผมสามารถที่จะทดลอง ปรับ เพิ่ม หรือ ลด อุณหภูมิ ที่ใช้ในการชงกาแฟ ได้ตามต้องการ หากผมต้องการจะทดลองหาว่า อุณหภูมิใด จะให้ผลดีที่สุดต่อการชงกาแฟครับ

Timemore Black Mirror Nano Coffee Scale
2,399 บาท – 20/1/2565
updated – ไม่แนะนำครับ หาซื้อตัวอื่นดีกว่า ตัวนี้ มีปัญหา เรื่อง espresso mode ซึ่งเป็น auto mode ที่ทำงานแล้ว มีปัญหาผิดพลาด น่ารำคาญ อยู่หลายๆครั้งครับ ผมเอง ซื้อมาแล้ว ก็คงทนใช้มันไปใน mode manual ยกเว้น ผมเจอ scale ที่ดีจริงๆ และ มีราคาสมเหตุสมผล ผมค่อยซื้อใหม่ครับ และเราไม่สามารถทำการ Calibrate มันได้ด้วยครับ เพราะเราต้องมีตุ้มน้ำหนักให้ครบตามที่ Timemore กำหนดไว้

จริงๆแล้ว ก่อนที่จะซื้อ Timemore Nano มาเพิ่มเติม ผมมองๆ scale อยู่หลายๆตัว เช่น

Acaia Lunar 2021 ตัวนี้ คุณสมบัติดีมาก แต่ปัญหาคือ ราคาสูง ครับ และที่หนักขึ้นไปอีก คือ ราคาที่มีคนหิ้วเข้ามาขายกันนั้น สูงขึ้นไปสู่ระดับที่ไม่มีเหตุผลครับ ทั้งนี้เนื่องจาก ของขาดตลาด หาซื้อยาก ผสมกับว่า เป็นของหิ้ว ราคาก็เลย พุ่งสูงเกินกว่า หมื่นบาทขึ้นไป บางที เห็นไปถึง หมื่นสองพัน ก็มีครับ

Eureka Precisa ตัวนี้ เห็นว่า มี Bluetooth ด้วย แต่ปัญหาคือ ผมเขียน e-mail ไปหาสองครั้ง ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับมาจากทางผู้ผลิต แสดงถึงความไม่ใส่ใจ ต่อลูกค้าเลยครับ (ทั้งๆที่เขาเป็นฝ่ายบอกเองว่า ให้เขียนไปถามได้ แต่พอถามไป ก็ไม่ยอมตอบกลับมา) สิ่งที่ทำให้ผม ตัดสินใจไม่รอ เพราะเห็นว่า ไม่มีฟังก์ชัน auto tare, auto start ไม่มี flow rate ดูเหมือนว่า จะทำงานได้แบบพื้นๆมาก (แต่ไม่ยืนยันนะครับ เพราะตอนนี้ ก็ยังแทบไม่มีข้อมูลที่แน่นอนออกมา และอย่างที่บอก เขียนไปถาม ก็ไม่ยอมตอบกลับมา)

Brewista ตัวนี้ ราคาสูงกว่า Nano เล็กน้อย มีขนาดใหญ่กว่า และ ไม่มีฟังก์ชัน Flow rate และ รูปร่างหน้าตา ก็สวยสู้ Timemore Nano ไม่ได้ครับ ผมจึงเลือกซื้อ Timemore Nano แทน เพราะ Brewista ไม่ได้มีอะไร ที่เหนือกว่า Nano เลย

มันก็เลย เหลือแต่นี่ละครับ Timemore Nano
จริงๆแล้ว มันก็มีจุดอ่อน นะครับ เช่น….
ไม่มี Bluetooth
ปุ่มกด อยู่ด้านข้าง ทำให้ใช้งานไม่สะดวก เมื่อใช้งานกับ Flair 58 ต้องแก้โดยการอะไรมารองไว้ด้านล่าง เพื่อยก Nano ให้สูงขึ้นครับ
Flow rate ต้องกดปุ่มสลับ จึงจะแสดงค่า ทำให้ ใช้งานจริงไม่ได้ เพราะตอนกด Flair 58 ผมไม่มีมือเหลือจะมาคอยกดปุ่มดู

แต่ข้อดีของมัน ก็มีหลายอย่างครับ คือ
ราคาค่อนข้างสมเหตุสมผล กับฟังก์ชัน การใช้งาน
มีขนาดเล็ก วางในฐานของ Flair 58 ได้
มีฟังก์ชัน มากพอสมควร เช่น Auto tare, Auto start, Espresso mode , วัด flow rate ได้ เป็นต้น
รูปร่าง หน้าตา สวยงาม ทันสมัย

ผมดู และ อ่านรีวิว แล้ว ความเห็นก็ออกมาในทางที่ดีครับ ยกเว้น ประเด็นข้อเสียดังกล่าวข้างต้น แต่ผมก็คงต้องยอมรับข้อจำกัดครับ เพราะ หากว่า จะไปซื้อ Acaia Lunar 2021 ในราคา หมื่นสองพัน ผมไม่ซื้อหรอกครับ และ จริงๆแล้ว ผมก็ไม่แน่ใจว่า ผมจะได้ใช้ประโยชน์ของ Bluetooth อะไร นักหนา เพราะผมไม่ได้ใช้เครื่องอย่าง Decent DE1 pro ฟังก์ชัน Bluetooth จึงไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย สำหรับผมนัก ส่วนการใช้งานคู่กับ app ต่างๆนั้น james hoffmann เคย แสดงความเห็นไว้ครั้งหนึ่งว่า มันไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญนัก และ การใช้งาน ก็ไม่ได้น่าประทับใจอะไรเลย

Update – ผมพบว่า Nano แสดงผลการชั่งน้ำหนักเพี้ยนครับ แต่ผมก็ทำการ Calibrate เครื่องไม่ได้ เนื่องจากในขั้นตอนการ Calibrate เครื่องนั้น Timemore กำหนดว่า เราจะต้องมีตุ้มน้ำหนัก ให้ครบ ดังต่อไปนี้ครับ คือ 20g , 50g , 100g, 500g, 1000g และ 2000g ซึ่งโดยทั่วๆไป คงไม่มีใคร ซื้อตุ้มน้ำหนักมาเก็บไว้กับตัว ครบทุกน้ำหนักที่กำหนดหรอกครับ นั่นเท่ากับว่า เราไม่สามารถ Calibrate Timemore Nano ได้เลย ผมก็เลยต้องทนๆใช้งานไป เพราะซื้อมาผิดยี่ห้อเองครับ และ ไม่มีใครเตือนผมด้วยว่า มันมีปัญหาแบบนี้ครับ

update – ผมซื้อ Decent DE-1 pro มาใช้งานแล้วครับ ดังนั้น ผมจึงต้องซื้อ Bluetooth Scale มาใช้งานควบคู่กัน และ ผมได้ซื้อ Felicita Arc มาใช้งานครับ ตามรายละเอียดที่เขียนไว้ข้างล่าง และ คลิปแสดงการเปรียบเทียบให้ดูข้างล่างนี้ครับ

สำหรับการเปรียบเทียบ ระหว่าง Maxus (Weightman) กับ Timemore Nano และ Felicita Arc นั้น ผลปรากฎว่า Felicita Arc เป็นผู้ชนะครับ โดยที่ Arc มีฟังก์ชันให้มากกว่า ทำงานได้ดีกว่า เที่ยงตรงกว่า ตอบสนองได้เร็ว วัสดุในการผลิตดีครับ แต่มีราคาสูงกว่า ในขณะที่ Timemore Nano ทำงานสู้ไม่ได้ แต่ในด้านวัสดุ และ ลักษณะถือว่าทำได้ดี สำหรับ Weightman นั้น ถึงจะราคาถูก แต่ทำงานได้ไม่ดีเลยครับ ตอบสนองช้ามาก และ บางทีก็ไม่ตอบสนองเลย อย่างที่เห็นในคลิป ข้างล่างนี้ครับ


Felicita Arc
4,800 บาท
ในที่สุด… ผมก็ต้องซื้อ Bluetooth Scale มาใช้จนได้… เพื่อเอามาใช้กับ Decent DE-1 Pro ซึ่งฟังก์ชัน Bluetooth ของ Scale นั้น เป็นสิ่งที่ควรจะต้องมี…. ในการใช้งานร่วมกัน… และในเมื่อ Timemore Nano ไม่มี Bluetooth ผมก็เลยต้องหาซื้อมาเพิ่ม..

ผมพยายามมองหา Scale โดยเน้นความคุ้มค่า ไม่เน้นกระแส การปั่นหัว แล้ว..ขายกันราคาเว่อร์ๆ ไร้เหตุผล…
ดังนั้น ผมตัด Acaia Lunar ออกไปก่อน เพราะตั้งราคาขายกันแบบ… ไร้เหตุผลมาก ปั่นราคากันไปถึง 12,000 บาท สำหรับ scale 1 ตัว ซึ่งเป็นราคา ที่บ้ากันไปแล้ว… และ ไม่ต้องมาปั่นหัวผมว่า ต้อง Lunar ต้อง Lunar ไม่งั้น ไม่เจ๋ง… เพราะผมจะถามกลับว่า ทำไมต้องเป็น Lunar ? เราไม่มีตัวเลือกที่ดี และ คุ้มค่า มากกว่านี้อีกแล้วหรือ ? ผมไม่เถียงหรอกครับ ว่า Acaia Lunar ออกแบบได้ดี ทำงานได้ดี ผลิตได้ดี มีขนาดกระทัดรัด และ สวยงาม… แต่… การปั่นราคากันไปถึง หมื่นสองพัน ทั้งๆที่ ราคาที่เมืองนอก มันไม่ได้สูงถึงขนาดนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้แน่ๆครับ ท่านใดอยากซื้อก็ตามสบายครับ เงินของท่าน.. แต่ไม่ใช่ผมแน่ๆ… ผมไม่ยอมครับ

Skale 2 เป็น Scale มี bluetooth ราคาประหยัด ที่มีคนแนะนำกัน… ราคาไม่แพง ประมาณ สามพันบาท +/- อย่างไรก็ตามปัญหาของ Skale 2 นอกเหนือจะใหญ่ หนา เทอะทะ แล้ว… ปัญหาใหญ่..คือ… ผมหาซื้อไม่ได้ครับ ในไทยไม่มีขาย แม้กระทั่งเมืองนอก ยังไม่มีเลยครับ หาซื้อยากมาก มีอยู่ที่เดียว คือ Website ของ Skale เอง แต่… ตอนที่จะซื้อ ระบบไม่น่าไว้ใจอย่างมาก เพราะไม่มีการให้กรอก ที่อยู่ในการจัดส่ง ไม่มีการแจ้งว่า ยอดรวมคือเท่าไร ค่าส่งเป็นเท่าไร ? คือไม่บอกอะไรเลย แต่ส่งผมไปที่ Paypal เพื่อจ่ายเงินทันที ผมจึงไม่กล้า log in เข้าไป เพราะผมไม่รู้ว่า ขั้นตอนต่อไปคืออะไร เขาจะชาร์จเงินผมเท่าไร และ ผมจะโดนมัดมือชกหรือเปล่า ? ส่วนหน้า Facebook ของ Scale มีการ update ครั้งสุดท้าย… โน่นครับ… ปี 2018 หรือกว่า 4 ปีมาแล้ว นี่เขายังทำธุรกิจอยู่หรือเปล่า ? ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ผมจึงต้องยกเลิกไปอีกยี่ห้อครับ เพราะพฤติกรรม ไม่น่าไว้ใจมากๆ

ก็… เหลือนี่ละครับ Felicita Arc
Scale ที่มี Bluetooth ทำงานได้ดี ไม่หนาเทอะทะ มีขนาดที่จะวางบน Drip tray ของ Decent ได้พอดี ไม่ใหญ่เกินไป และ ผมดูคลิปรีวิว เปรียบเทียบมาหลายอันแล้วครับ Arc ทำงานได้เท่าเที่ยม Lunar ได้ในทุกๆด้าน แต่มีราคาถูกกว่ามากๆ การผลิต และ วัสดุของ Arc ก็ดีเท่าเทียม Lunar ด้วยครับ

สิ่งที่ Lunar มี แต่ Arc ไม่มี คือ… การแสดง Flow Rate
แต่ในเมื่อผมจะเอามันมาใช้กับ Decent ซึ่งสามารถแสดง Flow Rate ให้ผมได้อยู่แล้ว และ บันทึก log การชงกาแฟของผมไว้ได้ทุก shot ดังนั้น ผมจึงไม่จำเป็นต้องดู Flow Rate ที่ตัว Scale และ ผมไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึง App ที่จะใช้กับ Bluetooth scale ตัวที่ผมจะซื้อ ผมขอแค่ว่า ให้มันมี responsive ที่ดี มีความไว ทำงานได้เที่ยงตรง และ เชื่อมต่อ Bluetooth ได้ดี ก็เป็นการเพียงพอแล้วครับ และ…. มีราคาเหมาะสม… ไม่ปั่นราคากันจนเสียสติ….

ดังนั้น Felicita Arc คือตัวเลือกที่ผมเลือกใช้ครับ

Normcore / 58 mm. Bottomless Portafilter For FLAIR 58
2359 บาท
สรุป – ไม่จำเป็นครับ แต่มันมีความคุ้มค่า คุ้มราคาดี วัสดุดี ใช้งานดี แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อ หากจะซื้อ ก็เป็นการซื้อเพื่อความพอใจเท่านั้นเองครับ

Bottomless Portafilter พร้อม Basket อันนี้ ผมไม่ได้ซื้อด้วยเหตุผลครับ แต่ซื้อด้วยความอยากได้เฉยๆ เพราะในแง่ของความจำเป็น หรือ คุณภาพของ shot กาแฟ การเปลี่ยน Portafilter ไม่ได้ช่วยอะไรทั้งสิ้นครับ มันไม่ได้ทำงานดีกว่า หรือ แตกต่างจาก Portafilter ที่แถมติดมากับ Flair 58 แต่อย่างใด

ผมตัดสินใจซื้อ Normcore ก็เพียงเพราะว่า Portafilter อันนี้ ด้ามทำจาก อลูมินัมตันๆครับ จึงทำให้มันแตกต่างจาก Portafilter อันเดิมที่มีด้ามเป็นไม้ โดยที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดิมเยอะครับ ดังนั้น ผมก็จะได้ในแง่ของความรู้สึกในขณะที่จับใช้งาน และ ในแง่ของวัสดุทีเป็นอลูมินัม และ สี ที่เป็นสีดำ ซึ่งเรื่องทั้งหลายนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของความพึงพอใจ ในความสวยงาม และ อารมณ์ที่อยากได้ เท่านั้นเองครับ ไม่ได้เป็นการใช้เหตุผลเลยว่า จำเป็นหรือเปล่า หรือว่า ซื้อมาแล้ว จะได้กาแฟดีขึ้นอย่างไร

ราคาของ Normcore เป็นราคาที่สมเหตุสมผลครับ เพราะรวมค่าส่งมาไทยแล้ว และ ผมเปรียบเทียบกับ Portafilter อื่นๆ ในตลาดที่ด้ามเป็นวัสดุโลหะ หรือ อลูมินัม ราคาล้วนแล้วแต่ สูงกว่า Normcore ทั้งสิ้นครับ และผมเลือกที่จะไม่เปลี่ยนด้ามเป็นไม้ครับ เพราะถึงจะเปลี่ยนสีไปอย่างไร มันก็เป็นไม้อยู่ดี ดังนั้น… ไหนๆจะเปลี่ยนทั้งที ก็เปลี่ยนให้มันแตกต่างจากเดิมไปให้เยอะๆ ทั้งในแง่ หน้าตา น้ำหนัก และ ความรู้สึกในขณะที่จับใช้งานครับ

VST Precision Filter Basket 18g มีขอบ
1,250 บาท
สรุป – N/A

นี่เป็นอุปกรณ์อีกชิ้น ที่ครั้งแรก ผมก็งงๆ ว่า มันมีผลต่อรสชาติของกาแฟ ที่ได้ด้วยหรือ ทำไม ถึงจะใช้ของเดิมที่ติดมากับ Flair 58 ไม่ได้ แต่หลังจากที่ค้นคว้า และ อ่านรีวิว อ่านความเห็น ดูคลิปต่างๆ ก็พบว่า มีความเห็นที่ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า Basket นั้น มีผลต่อรสชาติของกาแฟจริงๆ และ เป็นอุปกรณ์ที่ควรลงทุน หากว่า ต้องการ กาแฟ ที่มีรสชาติดีขึ้น

ส่วนที่ว่า เพราะอะไรมันถึงจะดีขึ้น เขาก็อธิบายว่า การควบคุมการผลิตที่ พิถีพิถัน การเจาะรูที่มีขนาด และ รูปทรงของรู ที่แตกต่างไป การวางลักษณะ pattern ของรู ที่ต่างไป จึงทำให้เกิดความแตกต่าง ในการ flow ของน้ำ ที่ไหลผ่าน ผงกาแฟ และ สุดท้ายคือ การส่งผล ต่อรสชาติของ Espresso ที่เราสกัดได้ (จริงหรือไม่ ผมไม่รู้เหมือนกัน เอาไว้ จะทดลองทีหลังครับ ซึ่งผมจะมีของ Flair ซึ่งเป็นขนาด 18g เช่นกัน ไว้เปรียบเทียบครับ)

ผมจึงตัดสินใจ upgrade Basket มาเป็นของ VST ครับ โดยเลือกแบบมีขอบ เพราะ ผมชงเองทานเอง ที่บ้าน และ ไม่ได้คิดจะเปลี่ยน Dose บ่อยๆ จริงๆแล้ว ผมคิดว่า ผมจะคงที่ Dose ของผม ไว้ที่ 18 g ตลอดไปด้วยซ้ำ ส่วนหากว่า จะเพิ่ม 20 g เข้ามาหรือไม่ ยังเป็นเรืองในอนาคต อีกนานพอสมควร เพราะผมต้อง dial in 18 g ให้เข้าที่เสียก่อน แล้วอย่างอื่นค่อยว่ากันอีกที ตอนนี้ ผมจึงซื้อ VST 18g มีขอบ ไปก่อนครับ สำหรับเรื่อง Dose ผมเห็นฝรั่งหลายราย เขากลับพยายาม ลด Dose นะครับ บางคนถึงกลับพยายามลดลงไปที่ 15 g หรือ ต่ำกว่านั้นลงไปอีก โดยบอกว่า รสชาติดีขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับคนไทยส่วนใหญ่ ที่ดูเหมือนจะพยายามเพิ่ม Dose ไปที่ 20 g ขึ้นไป ใครผิด ใครถูก ผมก็ไม่รู้ และ บางที มันอาจจะเป็นเรื่องของรสนิยม ส่วนตัวก็ได้ครับ

NORMCORE / SPRING LOADED TAMPER (UPGRADED) V4 , 58.5 mm.
1,645 บาท
สรุป – แนะนำครับ เป็น Tamper ที่ดี คุ้มค่า ราคาเหมาะสมครับ

อาจจะเขียน หรือ ไม่เขียน รีวิว ค่อยว่ากันครับ แต่ตอนนี้ ใช้งานตัวนี้อยู่

NORMCORE / COFFEE DISTRIBUTOR TOOL / 58.5 mm.
1,514 บาท
สรุป – แนะนำครับ ทำงานได้ดี ราคาไม่ถูกนัก สูงกว่าตัวเลือกอื่น พอสมควร จึงอาจหาซื้อยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่านี้ก็ได้ แต่ผมไม่ได้ทดลองด้วยตัวเอง จึงแนะนำไม่ถูกว่า ควรเป็นตัวไหน

อย่างที่บอกครับ จริงๆแล้ว Distributor ก็ไม่ถึงกับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้นัก แต่มันก็ทำให้สะดวกรวดเร็วขึ้น และผมคิดว่า ใช้ distributor ก็ไม่ได้มีผลเสียอะไร distributor อันแรกที่ผมซื้อมา มีขนาด 58 mm. มันจึงมีขนาดเล็กไปเล็กน้อย และ ไหนๆ ผมก็ตัดสินใจซื้อ Tamper Spring ของ Normcore แล้ว ผมจึงตัดสินใจ ซื้อ Distributor ขนาด 58.5 mm. ติดมาด้วยเลย ซึ่งค่อนข้างจะหาซื้อ Distributor ขนาด 58.5 mm. ได้ยากครับ เกือบทั้งหมด จะเป็นชนาด 58 mm. มากกว่าครับ ก็เลยไหนๆ ก็ไหนๆ ซื้อติดมือมาด้วย พร้อมกับ Tamper เลยแล้วกันครับ

ในการใช้งาน ก็ปรับระดับความลึกให้เหมาะสมนะครับ ตื้นไปก็ไม่ดี ลึกไป ก็ไม่ดี ระดับที่เหมาะสมคือ หลังจากที่ปรับระดับแล้ว เรายัง Tamp ลงไปได้อีกระยะความลึกหนึ่ง หากว่า Tamp ไม่ลง หรือ ลงน้อยมาก แสดงว่า ปรับระดับความลึกมากเกินไปครับ แนะนำให้เริ่มจากตื้นๆก่อน แล้วค่อยๆปรับให้ลึกมากขึ้น การใช้งาน ก็แค่วางลงบน Basket แล้ว หมุนตามทิศนาฬิกา สัก 2-4 รอบ ก็เสร็จสิ้นครับ ง่ายมากๆ

คุณอาจจะเลือกที่ไม่ใช้ Distributor นี้ก็ได้นะครับ มันไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากนัก แค่ช่วยให้สะดวกรวดเร็วขึ้นบ้างเท่านั้นเอง เท่าที่ได้ใช้ มันทำงานได้ดีครับ ผงกาแฟไม่ติดผิวหน้าของ Distributor ขึ้นมา หลังการใช้งานเหมือนตัวเก่า ส่วนอย่างอื่น ก็ไม่มีอะไร ครับ ก็แค่ทำให้ ผิวหน้าเฉพาะด้านบน ราบเรียบ พร้อมสำหรับการ Tamp เท่านั้นครับ หากไม่ใช้ Distributor เราสามารถใช้ เทคนิค Palm Tapping หรือ การใช้นิ้วปาดหน้าผงกาแฟ ให้เรียบแทนก็ได้ครับ หากชำนาญ ก็ทำเสร็จในเวลา รวดเร็วพอๆกันครับ แต่ถ้าขี้เกียจฝึก จะเลือกใช้ Distributor ก็ได้ครับ ซื้อแบบ Normcore หรือไม่ ก็ให้ถูกกว่านี้ครับ อย่าไปซื้อของแพงๆ เพราะผมมองไม่เห็นประเด็นใดๆ ที่จะต้องไปซื้อของแพงๆ อย่าง ODC เลยครับ เอาเงินไปซื้ออย่างอื่นดีกว่าครับ

WDT (Weiss Distribution Technique) Needle Distributor เข็มเกลี่ยผงกาแฟจุกไม้ก๊อก
ราคา 88 บาท
สรุป – แนะนำครับ ไม่ต้องซื้อแพงกว่านี้ ตัวนี้ดีที่สุดครับ อย่าซื้อของแพง เด็ดขาดครับ

WDT เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ผมคิดว่า สำคัญมาก ควรต้องมี และ ควรต้องใช้ครับ ไม่ควรมองข้ามไปเด็ดขาด

หลังจากที่ผมพบว่า WDT ตัวแรกที่ผมซื้อมานั้น มีขนาดของ เข็ม ที่ใหญ่เกินไปครับ ผมเพิ่งมาพบภายหลังว่า เข็มที่ใช้ในการเกลี่ยผงกาแฟนั้น ควรจะมีขนาด 0.4 mm. เท่านั้นครับ ไม่ควรจะใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้การทำงานไม่ได้ผล และ เมื่อใช้งานจริง ผมก็พบว่า WDT อันแรกที่ผมซื้อมานั้น ทำงานไม่ได้ผลจริงๆครับ

ผมก็เลยต้องหาซื้อใหม่ ทีแรก คิดว่าจะ DIY เอง จึงสั่งซื้อ เข็มขนาด 0.4 mm มาจาก Aliexpress แต่ก็มาพบความเจ็บปวดว่า โดนพ่อค้าจีนหลอกเอาครับ ในประกาศบอกว่าขายเป็น Set , Set หนึ่งมี เข็ม 10 อัน แต่… หลังจากที่รอนานเกือบสามเดือน ของจึงเพิ่งส่งมาถึง และที่แสบที่สุดคือ ส่งเข็ม มาให้เพียง 1 อันครับ เท่ากับ ผมถูกหลอกให้รอนาน 3 เดือน เพื่อได้รับของ ที่ขายแพง โคตรแพง และ หลอกกัน แบบหน้าด้านๆ ผมจึงให้เขียนด่ามันลงไปที่หน้าสินค้าของมัน แต่ก็คงป้องกันอะไรไม่ได้ หากมีคนด่ามันเยอะๆ มันคงลบประกาศ แล้ว ก็ลงใหม่ ในประกาศใหม่ แล้วก็ หลอกลูกค้ารายต่อไป ได้ไม่ยากครับ

สำหรับ WDT อันนี้ ผมจึงตัดสินใจ ซื้อจาก พ่อค้าคนไทยแทนครับ ราคาไม่แพง สมเหตุสมผล (แต่ผมมาพบภายหลังว่า มีคนขายใน facebook ราคาลงไปเหลือ 59 บาท เท่านั้น แต่ผมซื้อมาราคา 88 บาท ก็ ok ครับ ไม่ได้แพงอะไร ไม่มีอะไรซีเรียสครับ ของซื้อ ของขาย มันแล้วแต่จังหวะ โอกาส มันเป็นเรื่องสุดวิสัย และคนขายก็ต้องมีกำไรบ้าง)

สำหรับผลการใช้งาน จะค่อยมารายงานให้ทราบภายหลังครับ

หลังจากได้รับของ… สิ่งแรกที่ผมทำกับมัน คือ ลบความแหลมที่ปลายของมันครับ เพราะแหลมมากทีเดียว หากใช้งานแล้วเผลอๆ มีโอกาสได้แผลมา ไม่ยากเลยครับ ซึ่งการลบปลายของมัน ไม่ได้มีผลอะไรต่อการใช้งาน เพราะเราต้องการใช้ก้านเข็ม ในการลากผ่านผงกาแฟ มากกว่าครับ ปลายแหลม ที่แหลมเกินไป รังแต่ จะไปขูดก้น Basket ให้เป็นรอยด้วยซ้ำไปครับ

Update – หลังจากที่ได้ทดลองใช้มาสักระยะ ผมพบว่า WDT ส่งผลอย่างมากๆครับ เมื่อเปรียบเทียบกับอันเก่า ที่เป็นเข็มขนาดใหญ่มากๆ อันใหม่ที่เป็นเข็มขนาดเล็ก ทำงานได้ดีกว่ามากๆ ผมพบว่า ผมสามารถเขี่ยให้ ก้อนกาแฟทั้งหลาย สลายตัวลงได้ดีกว่า ผงกาแฟ ฟูมากขึ้น การกระจายตัวของผงกาแฟ สม่ำเสมอมากขึ้น การเกลี่ยหน้ากาแฟให้สม่ำเสมอ ทำได้ดีกว่าเดิม เรียกว่า จะไม่ใช้ Distributor ก็ยังได้ครับ หากว่าใช้ WDT เกลี่ยนหน้าให้ดีๆ แต่มันกินเวลามากขึ้น หากใช้ Distributor ก็จะเร็วกว่านิดหน่อย ผมจึงเลือกใช้งาน Distributor ด้วยครับ

WDT คือส่ิงที่จำเป็นต้องใช้ คุณจะไม่ใช้ Distributor ก็ได้ เพราะไม่จำเป็น แต่ WDT นี่จำเป็นครับ และ โชคดีที่ตัวที่ทำงานได้ดีที่สุด คือ แบบที่ราคาถูกที่สุด ไม่ต้องไปซื้อของแพงๆนะครับ ที่ทำมาสวยๆ หรูหรานะครับ ไม่จำเป็นเลย ซื้ออันละไม่เกิน 100 บาทนี่ละครับ ดีที่สุดแล้ว พวกแพงๆ บางตัวก็เป็นเข็มขนาดใหญ่เกินไป ทำงานไม่ได้ผล บางตัวก็ปรับระดับความลึกไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่คุณจะต้องเกลี่ยผงกาแฟ ทั้งระดับลึก ระดับกลาง และ ระดับผิวหน้า ให้ทั่วถึง รุ่นที่เป็นจุกคอร์กนี่ละครับ ถูก และ ดี ใช้งานสะดวก ปรับระดับความลึกได้ตามต้องการ ทำงานได้ดีสมบูรณ์แบบครับ

Puck Screen
350 บาท
สรุป – N/A (ไม่เคยใช้งานเลย ซื้อมาเก็บไว้เฉยๆ)

มันเป็นแผ่นโลหะ บางๆ ที่เราใช้วางบนผงกาแฟ หลังจากที่เราได้ Tamp เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราใช้มัน เพื่อหลังจากที่เราสกัดกาแฟ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะดึงคันกด ขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดูดกลับขึ้นมาในกระบอกน้ำร้อนของ Flair หากเราไม่มี Puck Screen แผ่นนี้ ผงกาแฟ ตลอดน้ำกาแฟที่เหลือ ก็อาจจะถูกดึงกลับขึ้นมาอยู่ใน ตัว Flair ได้ ทำให้เกิดความสกปรก ต้องทำการล้างกันบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น (มีผู้ขายบางรายบอกว่า ช่วยในการกระจายน้ำให้มีความสม่ำเสมอ แต่ผมคิดว่า เรื่องนั้น ไม่น่าจะมีผลมากมายอะไรนักครับ)

ราคา 350 บาทครับ และ มีลักษณะเหมือนของ Flair ครับ ต่างกันที่ว่า ของ Flair จะหนา 1.75 mm. ของที่ผมซื้อมาหนา 2 mm. ซึ่งผมคิดว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรครับ เพราะทั้งคู่มีขนาดของช่องที่ 150 micron เหมือนๆกันครับ จริงๆแล้ว จะมีของใน Aliexpress ที่มีลักษณะเหมือนของ Flair มาก และ มีความหนา 1.75 mm ด้วย แต่ราคาแพงกว่าครับ ผมจึงเลือกชื้อชิ้นนี้แทนครับ

Updated 28/8/64
Flair 58 มีการปรับปรุง Minor change ครับ และ ในการปรับปรุงครั้งนี้ มีการเอา Shower Screen ออก แล้วให้ใช้ Puck Screen แทน ซึ่งทาง Flair จะให้มาในชุดของ Flair 58 เลย ไม่ต้องซื้อแยกแต่อย่างใด ผลก็คือ ผมเสียเงินเกินจำเป็น ในการ ยังไม่ทันเห็นกระรอก ก็โก่งหน้าไม้ไปแล้วของผม เท่ากับ ผมมี Puck Screen เกินจำเป็นไป 1 อันครับ ไม่เป็นไร เก็บไว้เป็นอะไหล่สำรองครับ

Ultrasonic cleaner
480 บาท
ผมซื้อเครื่องทำความสะอาด Ultrasonic เครื่องนี้มา เพื่อมาลองดูว่า หลังจากที่แปรง Puck Screen ด้วยแปรงสีฟันแล้ว เปิดน้ำให้ไหลผ่านแล้ว และ แช่ puck screen ในน้ำร้อนแล้ว ยังมีผงกาแฟติดอยู่ที่ puck screen มากน้อยขนาดไหน

ดูตามคลิปด้านล่างนะครับ จะเห็นว่า ยังคงมีผงกาแฟ ติดค้างอยู่ที่ puck screen อยู่มากทีเดียว ถึงแม้ ดูด้วยตา มันก็สะอาดดี ลองดมดู กลิ่นก็สะอาด แต่พอ เอามาล้างด้วยเครื่อง Ultrasonic มันก็แสดงให้เห็นว่า ยังไงคุณก็ควรต้องใช้ เครื่อง Ultrasonic ทำความสะอาด puck screen ของคุณอาทิตย์ละครั้งครับ แนะนำให้ใช้ครับ อ้อ… ให้ซื้อแบบเสียบสายไฟ นะครับ อย่าซื้อแบบใช้ถ่าน เพราะแรงสั่นจะเบาเกินไปครับ แบบเสียบสายไฟที่ผมซื้อนี้ มีความแรงเพียงพอครับ

แท่นวาง Porta Filter , Tamper , Distributor
ราคา 545 บาท
สรุป – แนะนำครับ ใช้งานได้ดี และ มีประโยชน์ ราคาเหมาะสม

อันนี้ ไม่มีอะไรครับ เป็นแท่นวาง อุปกรณ์ และใช้เป็นแท่นที่จะใช้กด Tamp ไปด้วยในตัว จริงๆแล้ว จะซื้อเป็นแบบยาง ซิลิโคน มาวางบนโต๊ะก็ได้นะครับ แต่พอดี พื้นโต๊ะผม เป็นกระจก ผมกลัวว่า กดไปแรงๆ เผลอๆ กระจก จะแตก ผมก็เลยซื้อแบบเป็นทั้งแท่นกด และ แท่นวางอุปกรณ์ อยู่ในตัวเดียวกันมาใช้แทนครับ

FELLOW Atmos Glass Vacuum Coffee Storage Canister 700 ml
1,050 บาท
สรุป – แนะนำครับ ราคาไม่ได้ถูกนัก เดี๋ยวนี้ เห็นมียี่ห้ออื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่านี้ หรือ Airscape ก็ถูกกว่านี้ แต่ผมไม่เคยใช้ จึงไม่รู้ว่าเป็นยังไงแน่ แต่ Atmos นี้ ก็ดีครับ ทำงานได้ดี

ตอนแรกๆ ผมก็ลังเล เล็กน้อยว่า จะลงทุน กับ โถเก็บกาแฟ ดีหรือไม่ เพราะบางความเห็นก็บอกว่า เก็บไว้ใน ถุงกาแฟ ก็เพียงพอแล้ว แต่เท่าที่อ่านพบมา คือ การเก็บรักษาที่ดีที่สุดนั้นคือ เก็บไว้ใน sealed bag นั่นแหละ แต่ในเมื่อซื้อกาแฟ มาทาน ไม่ได้ซื้อมาเก็บ เราก็จะต้องเปิดถุงกาแฟ อยู่ดี Sealed Bag จึงไม่มีประโยชน์อะไรต่อเรานัก

รองลงมา คือ การเก็บในถุงสูญญกาศ และ แช่ไว้ในช่องฟรีซ อันนี้ จะเก็บกาแฟไว้ได้นานเกิน 6 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีปัญหา เหมาะสำหรับ คนที่มี เม็ดกาแฟ มากมาย หลายประเภท จนกินไม่ทัน กินไม่หมด ก็จะต้องใช้วิธี ฟรีซแบบสูญญากาศ แบบนี้ หรือ อาจจะเหมาะสำหรับ คนที่ ซื้อ เม็ดกาแฟ ทีละมากๆ แล้วค่อยๆกินทีละน้อย ก็อาจแบ่งถุงเป็นหลายๆถุง แล้ว ฟรีซไว้ก่อน แล้วค่อยๆ แกะมากินทีละถุงก็ได้ครับ

สำหรับ โถแบบสูญญากาศ แบบ Fellow นี่ จริงๆแล้ว มันก็อาจไม่ได้สูญญากาศจริงๆ หากว่า วางไประยะหนึ่ง โดยไม่ไปทำอะไรกับมัน สภาพสูญญากาศ ก็อาจจะหายไปเอง หรือ เม็ดกาแฟปล่อยคาร์บอน ออกมา จนเราต้องมาดึงคาร์บอนออกไป ด้วยวิธี หมุนฝา กลับไป กลับมา จนกว่า ที่อากาศ หรือ คาร์บอน จะถูกดึง ออกไปหมด อีกครั้ง

แต่ผมคิดว่า Fellow เหมาะสมกับผม ที่ตั้งใจจะซื้อกาแฟ เป็นถุงขนาด 250 g มาทาน แล้วค่อยๆแกะทีละถุง มาใส่ ไว้ใน โถ Atmos นี่ แล้วทานไปให้หมด ในเวลา ประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งผมคิดว่า เป็นเวลาที่เหมาะสม และ ไม่นานเกินไป และ Atmos น่าจะช่วยรักษารสชาติ ความสดใหม่ของเม็ดกาแฟ ให้ผมได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่ผมเลือกเป็น โถแก้ว ที่ให้แสงแดด ผ่านเข้าไปได้ ทั้งๆที่ รังสี UV นั้น เป็นผลเสียต่อ เม็ดกาแฟ แต่ผม ก็วางโถไว้ในที่ร่ม ไม่ได้โดนแสดแดด โดยตรง และ ผมก็ตั้งใจจะทานให้หมด ใน 2 อาทิตย์ ดังนั้น ผมคิดว่า ประเด็นของ UV นั้น จึงไมไ่ด้มีผลมากมายอะไรนักครับ และ การใช้เป็นโถแก้วนั้น มีข้อดีที่ว่า ผมสามารถที่จะแนบ สลากหน้าซองของเม็ดกาแฟลงไปในโถได้ เพื่อจะได้รู้ว่า ผมกำลังทานเม็ดกาแฟ ยี่ห้ออะไร รุ่นใด อยู่

คู่แข่งของ Fellow Atmos เห็นจะเป็น Airscape ครับ ซึ่งก็เหมาะสมกับผมเช่นกัน ระบบการทำงาน อาจจะดูสะดวกกว่า Fellow Atmos ด้วยซ้ำ เป็นการ ดันฝาปิดที่มีวาล์ว ลงไปเฉยๆ สะดวกรวดเร็วมาก อาจจะไม่ได้เป็นสูญญากาศแท้ๆ แต่ผมคิดว่า ดีพอ สำหรับการเก็บเม็ดกาแฟ ไว้สักสองอาทิตย์ แต่ปัญหา ของ Airscape คือ ราคาจำหน่ายในไทยครับ แพงกว่า Fellow Atmos ด้วยซ้ำ (ซึ่งจริงๆแล้ว ควรจะถูกกว่า) จึงทำให้ ผมหันไปเลือก Fellow Atmos แทนครับ

update – ผมพบว่า ตัวแทนนำเข้า ขาย airscape ในราคาไม่แพงครับ แต่ว่า ต้องไปซื้อจากทาง website ของทางร้าน หากว่า ค้นใน shoppee หรือ Lazada จะไม่เจอครับ เพราะทางร้านขายผ่าน website ของตัวเองเท่านั้นครับ

Update – มีรายงานจากผู้อื่น.. ว่า เมื่อใช้ Atmos ไปสักระยะหนึ่ง ระบบสูญญากาศของ Atmos จะเสื่อมลง และ ต้องทำการเปลี่ยนอะไหล่ ซึ่งประเด็นนี้ ผมเองคงรอดู การใช้งานของผมไปก่อนว่า จะเกิดปัญหาอย่างเดียวกันหรือไม่ ซึงหากว่า เกิดขึ้น ผมอาจจะต้องหันไปซื้อ airscape มาใช้งานแทนครับ แต่จนปัจจุบัน ผมยังไม่พบปัญหาใดๆทั้งสิ้นครับ

Update 27/5/2566 ผมพบว่า Atmos ยังคงทำงานได้ตามปกติครับ ไม่ได้มีอาการเสื่อมสภาพแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า Atmos ไม่ใช่สิ่งจำเป็นครับ ผมคิดว่า เราเก็บเม็ดกาแฟไว้ในถุงที่มี one way valve แล้ว ใช้ที่ปิดปากถุงของ iKea ก็เป็นการเพียงพอแล้วครับ ได้ผลดี และ มีราคาถูกด้วยครับ

AIRSCAPE 4″ 250g Ceramic Vacuum Coffee Storage Canister
1,155 บาท
ผมตัดสินใจ ซื้อ Airscape มาเพิ่ม เพราะคิดว่า ผมคงจะทำการ Blend เมล็ดกาแฟ ค่อนข้างแน่ครับ เพราะเท่าที่ลองดู ผมคิดว่า ผมชอบแบบ Blend มากกว่า ดังนั้น ผมจึงควรจะมีโถเก็บเมล็ดกาแฟ สองโถ ไว้ใช้คู่กัน โดยเก็บเมล็ดกาแฟคนละชนิดไว้ในแต่ละโถ

แต่ที่ผมไม่ได้ซื้อ Atmos มาเพิ่มอีกอันหนึ่ง ก็เพราะผมคิดว่า ผมอยากจะลอง Airscape ดูครับ และ ผมคิดว่า Airscape ใช้งานง่ายกว่า เพราะเพียงแต่ดันฝาชั้นในลงไป แล้วล๊อค แล้วปิดฝาไม้ก็เสร็จ เวลาจะเอาเมล็ดกาแฟ ก็เปิดฝาไม้ คลายล๊อค แล้วดึงฝาชั้นใน ขึ้นมา จึงทำให้ สะดวกรวดเร็วกว่า การใช้ Atmos ครับ และไม่ต้องเมื่อยมือ ในการบิดฝาไปมา เพื่อปั้มอากาศออกด้วยครับ

ข้อเสียของ Airscape เห็นจะเป็นว่า มันก็ไม่ได้เป็นสูญญากาศอย่างแท้จริง ยังไง ก็ยังมีอากาศเหลืออยู่ภายในบ้าง อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า คงช่วยลดปฎิกิริยาที่เมล็ดกาแฟจะทำกับอากาศให้ช้าลงไปกว่าปกติได้ครับ อีกอย่างหนึ่งคือ ผมแบ่งเมล็ดกาแฟ ไว้เป็นถุงเล็กๆ และ จะตัดมาใช้ ทีละถุงเป็นปริมาณไม่มาก ดังนั้น ถึงเมล็ดกาแฟ จะทำปฎิกิริยากับอากาศ แต่ก็คงไม่ได้มากมายจนเป็นผลเสียชัดเจน เพราะผมคงกินมันหมดก่อนที่มันจะมีปัญหาขึ้นมา

ผมจะไม่ทำการทดลอง ทดสอบ เปรียบเทียบ ระหว่าง Airscape กับ Atmos เนื่องจากว่า มันเป็นการทดลองที่ยุ่งยาก ในการควบคุมปัจจัยทุกๆอย่างให้ เหมือนๆกัน แถมยังต้องใช้เวลาในการทดลอง ทดสอบ นานมากๆ เพราะกว่าจะทิ้งให้เวลาเนิ่นนานพอ ในแต่ละครั้งของการทดสอบ ก็ต้องทิ้งไว้ เป็นเดือน ก่อนจะนำมาทดสอบกินกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะผมต้องกินกาแฟอยู่ทุกๆวัน และ ผมก็ยังมีภาระอย่างอื่นที่ต้องทำด้วย ดังนั้น จะไม่มีการทดสอบ วิจารณ์ รีวิว Airscape v.s. Fellow Atmos ครับ

Updated 27/2/2566
ผมพบว่า ยางของ Airscape เริ่มต้นเสื่อมสภาพเล็กน้อย และ ดูเหมือนว่า จะทำให้การ Seal นั้น เริ่มต้นลดประสิทธิภาพลงไป ดังนั้น ผมคิดว่า ผมไม่แนะนำ Airscape ครับ หากยางเสื่อมเร็วขนาดนี้ คงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแต่อย่างใด

Vacuum Sealer
829 บาท
สรุป – แนะนำครับ มีประโยชน์ ในการเก็บเมล็ดกาแฟ แบบนานๆ หลายๆเดือน ครับ

เนื่องจาก ผมกำลังคิดว่า จะมีการซื้อเมล็ดกาแฟ มาครั้งละ 3 kg ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าส่ง ซึ่งทางผู้ขายจะส่งให้ผมฟรี แต่ปัญหาคือ กว่าผมจะบริโภคเมล็ดกาแฟ 3 kg ได้หมด ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 5 เดือนครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก ดังนั้น เพื่อที่จะสามารถรักษาเมล็ดกาแฟ ให้มีความสดใหม่ ได้นานถึงประมาณ 6 เดือน ผมจึงจะต้องเก็บ เมล็ดกาแฟ ไว้ในถุงสูญญากาศ และ เก็บไว้ในช่องฟรีซ ของตู้เย็นครับ

สำหรับ เมล็ดที่ผมจะใช้ในแต่ละวัน ผมจะเก็บไว้ใน Fellow Atmos ครับ แล้วก็ใช้ไปเรื่อยๆ พอจะหมด ผมก็จะเอา เมล็ดกาแฟ ที่แช่แข็งไว้ ออกมาตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ ห้อง 1 วันล่วงหน้า เพื่อให้ค่อยคายความเย็นออกมาจนหมด แล้วจึงค่อยเปิดถุงมาเก็บไว้ใน Fellow Atmos ต่อไปครับ

แก้ว Espresso Double Wall ขนาด 80 ml.
45 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

แก้วสองชั้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจับแก้ว โดยที่ไม่ต้องร้อนมือ ได้ครับ เพราะมีอากาศเป็นฉนวนอยู่ และ ช่วยให้ แก้ว เก็บความร้อนของกาแฟให้คงที่ไว้ได้นานกว่า แก้วธรรมดา ผมจงใจเลือกขนาดสำหรับ espresso โดยเฉพาะครับ ผมคิดว่า แก้วนี้ สวยดี และ มีราคาไม่แพงครับ ข้อดีอีกอย่าง สำหรับแก้วที่มีผนังแก้วใส แบบนี้คือ เราเอาไว้ดู กาแฟที่สกัดได้ว่า มีการแบ่งชั้น ออกเป็น 3 ชั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ครับ ซึ่งหากเป็นแก้วเซรามิค เราจะมองไม่เห็นเลยครับ เพราะผนังทึบ ไม่ได้ใส เหมือนแก้วแบบนี้ครับ

ภาพตัวอย่างแสดง Espresso shot ที่ดี จะประกอบไปด้วย 3 ชั้นครับ บนสุดคือ Crema รองลงมาคือ Body และชั้นล่างสุดคือ Heart ครับ

แก้ว Espresso เซรามิค 80 ml
145 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาเหมาะสม

อันนี้ เป็น แก้วเซรามิค เนื้อ stoneware ผลิตในจีน แบบธรรมดา ทรงทิวลิป ครับ ไม่ได้เป็นแบบสองชั้น งานเรียบร้อยดีมากครับ ทรงสมมาตร ไม่บิดเบี้ยว วางแล้วไม่โคลงเคลง ผนังมีความหนาพอสมควร ไม่บางเกินไป ผมซื้อมาเผื่อๆไว้ เพื่อทดลองดูว่า ผมจะชอบแก้ว Espresso แบบไหนกันแน่ แต่ทั้งสองแบบที่ผมซื้อมา ผมเน้นว่า ราคาต้องไม่สูงครับ ดังนั้น แก้วที่มีราคาหลายๆร้อย หรือ พันกว่าบาทนั้น ผมคงไม่ได้คิดว่า จะซื้อมาใช้ เพราะผมคิดว่า ค่อนข้างเกินจำเป็น และไม่น่าจะช่วยให้รสชาติกาแฟ ดีขึ้นแต่อย่างใดครับ

สำหรับ แก้วกาแฟ ใบนี้ น่าพอใจครับ งานเรียบร้อยดี คุณภาพดี รูปทรงสวย งานปราณีต สีสวย ราคาสมเหตุสมผลครับ

iKea VARDAGEN วาร์ดาเกน
ถ้วยกาแฟเอสเพรสโซ เซรามิค เนื้อ stoneware และจานรอง, ออฟไวท์ 60 ml. 59 บาท ผลิตในไทย
สรุป – ไม่แนะนำ ผมคิดว่า คุณภาพมัน ก๊องแกร๊ง มากเกินไปหน่อย ซื้อดีกว่านี้ หน่อย ดีกว่า

นี่ก็เช่นกันครับ ซื้อมาทำไม ก็ไม่รู้ แต่ก็ซื้อมาครับ เพราะพอดีจะซื้อชั้นวางจาก iKea อยู่แล้ว เห็นแก้ว Espresso นี้ ราคาไม่แพง ก็เลยซื้อติดๆมา ซะงั้นครับ จะว่าไป สีขาวของแก้วใบนี้ ออกไปทาง หมองๆ นะครับ ไม่ ขาวสว่าง ใสปิ๊ง อะไรทำนองนั้น แต่เขาก็บอกอยู่แล้วว่า สี ออฟไวท์ อ่ะเนอะ รูปทรงกลม ก็ไม่ได้ กลมเสียทีเดียวนัก ผนังมีความบางกว่าใบอื่นๆที่ผมซื้อมาทั้งหมด ทั้งจานรอง และ ตัวแก้ว ยังมองออกว่า มีส่วนที่ เบี้ยวๆไปเล็กน้อยอยู่ เวลาวางแก้ว มันก็คล่อกแคล่ก โยกเยกไปมาได้ แต่ราคามันก็แค่ 59 บาทครับ คงจะไปหวังความเนี๊ยบอะไรนัก คงไม่ได้ครับ ก็ถือว่า ok นะครับ ไม่ได้เลวร้ายอะไรครับ

แก้ว เซรามิค Porcelain ผลิตในจีน แบบผนังแก้ว หนาพิเศษ 9.35 mm.
315 บาท
สรุป – แนะนำรุ่นนี้ครับ เป็นแก้วที่ดีที่สุดในความเห็นของผม เหมาะมากๆสำหรับการดื่ม Espresso

แก้ว Espresso ความจุ 60 ml. แบบที่มีผนังหนามากเป็นพิเศษใบนี้ มีข้อดี และ ข้อเสียในตัวครับ ข้อดีคือ แก้วมีผนังหนามาก จึงทำให้สามารถเก็บความร้อนไว้ในตัวได้มาก และ คงความร้อนไว้ได้นานกว่า แก้วทั่วๆไป ที่มีผนังบางกว่า แต่… หากว่า ก่อนที่จะใช้งาน แก้วมีอุณหภูมิที่ เย็น หรือ ปกติ แก้วใบนี้ ก็จะดึงความร้อนออกจาก กาแฟ ที่เทลงไปในแก้ว ได้มาก และ เร็ว มากเช่นกันครับ

ดังนั้น ในการใช้งาน แก้วกาแฟ ทุกชนิด โดยเฉพาะ แก้วที่มีผนังหนามากเป็นพิเศษ ชนิดนี้ เราจำเป็นต้อง pre heat แก้วด้วยครับ ด้วยการเทน้ำร้อนทิ้งไว้ในแก้วก่อนสัก 5-10 นาที แล้วจึงค่อยเทน้ำร้อนทิ้ง หลังจากที่ตัวแก้ว มีความร้อนคงที่ได้ระดับที่ต้องการ แล้วจึงค่อยนำแก้วไปใช้งาน ในการใช้ทานกาแฟครับ

Update –
ผมพบว่า ในบรรดาถ้วย Espresso ที่มีได้ลองใช้ทั้งหมดนี้ ผมชอบถ้วย Espresso แบบที่ทำจากเซรามิค และมีความหนาของขอบถ้วยประมาณ 1 cm. นี้มากที่สุดครับ ผมพบว่า มันมีความสมดุลในการกระจายความร้อน และ รักษาความร้อนของกาแฟ ได้ดีครับ ผมพบว่า แก้วแบบ 2 ชั้นนั้น ถึงแม้จะรักษาความร้อนไว้ได้นานกว่า แต่ผมก็พบว่า เมื่อดื่มตัวแก้วด้านนอกจะไม่อุ่น และ ตัวกาแฟก็ร้อนเกินไป ไม่ได้คลายความร้อนลงมาเลย ไม่เหมือนกับแก้วเซรามิคขอบหนา ซึ่งหากเรา pre heat ถ้วยเอาไว้ อุณหภูมิทุกๆอย่าง จะมีความเหมาะสม ถ้วยจะช่วยกระจายความร้อนให้อยู่ในระดับพอเหมาะ เมื่อยกขึ้นดื่ม ผมพบว่า มันให้รสชาติกลมกล่อม มากกว่าการใช้แก้ว Espresso รุ่นอื่นๆครับ แนะนำแก้วรุ่นนี้อย่างยิ่งครับ

แก้ว Stainless Steel Double Wall 80 ml
150 บาท
สรุป – ไม่แนะนำครับ ผมว่า ซื้อเป็น เซรามิค หรือ แก้ว ดีกว่าครับ

แก้วใบนี้ ก็เป็นแบบ ผนังสองชั้น ผลิตในจีน กันความร้อนได้ครับ แต่วัสดุ ทำจาก Stainless Steel S304 (Food Grade) ความจุ 80 ml ผมซื้อก็เพราะอยากจะลองดูครับ ว่า ของจริงจะเป็นอย่างไร ใช้แล้วจะเป็นอย่างไร ได้เห็นของจริง ก็สวยดีนะครับ สีก็สวยดีตามรูป (ของจริงสวยกว่าในรูป) ผิวข้างในเป็นสีเงินนะครับ ไม่ใช่สีทอง การกันความร้อน ก็ทำได้ดีทีเดียวครับ จับได้สบายๆ และ เวลาล้าง ไม่ต้องกลัวแตก เหมือนพวกที่ทำจาก แก้ว ด้วยครับ เพราะอันนี้ เป็นเหล็ก ล้างยังไง ก็ไม่แตกครับ

ผมซื้อแก้วมา มากมายหลายใบ ส่วนหนึ่งก็จะไว้ใช้งานสลับๆกันไปครับ อีกส่วนหนึ่ง ก็จะเอามาใส่น้ำร้อน เอาไว้เสิร์ฟ พร้อมๆกับกาแฟครับ เพราะก่อน และ หลัง ทานกาแฟ เราก็ต้องจิบ น้ำร้อน ก่อนอยู่แล้วครับ ดังนั้น ยังไง ก็ได้ใช้งานแน่ๆ ครับ ทุกๆใบ ไม่มีใบไหนเสียเปล่าแน่นอนครับ ไม่เอาไว้ใส่กาแฟ ก็เอามาใส่น้ำร้อนได้ครับ

โดยสรุป… สำหรับการเลือกซื้อแก้วกาแฟ Espresso
ขนาดของแก้ว… แนะนำให้ซื้อขนาด 80 ml ครับ

วัสดุ…. ให้เลือกเป็น Ceramic เนื้อ Porcelain หรือเนื้อ Stoneware ก็ได้ แต่เนื้อ Porcelain จะดีกว่าครับ
และให้เลือกรุ่นที่มีขอบผนังแก้วหนาประมาณ 9-10 mm. ครับ ผมแนะนำรุ่นนี้ ให้เป็นตัวเลือกแรก

แก้ว ก็เป็นวัสดุที่ดี และ เหมาะสม ที่จะนำมาใช้เป็นแก้ว Espresso
แก้วประเภทสองชั้นก็เป็นที่นิยมกันมากในตอนนี้ครับ แต่ต้องระวังว่า บางยี่ห้อ เนื้อบาง แตกง่าย และ บางยี่ห้อ มีรูที่ก้น ทำให้น้ำไหลเข้าไปข้างในได้ครับ

ส่วนโลหะอย่าง Stainless Steel นั้น เขาไม่ค่อยแนะนำกันครับ แต่คุณอาจจะลองดูก่อนก็ได้ บางท่าน ก็อาจจะ ok

ที่ไม่แนะนำคือ แก้วพลาสติก หรือ แก้ว Styrofoam หากจำเป็น เลือกใช้แก้วกระดาษ ยังจะดีเสียกว่าครับ Styrofoam นั้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณอย่างมากด้วยครับ ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด

ส่วนรูปทรงนั้น ก็ตามแต่อัธยาศัยครับ มีรูปทรงให้เลือกกันมากมาย แล้วแต่รสนิยมของแต่ละท่าน
แก้วราคาแพงๆ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นครับ แก้วสองชั้น บางยี่ห้อ ที่ขายกันแพงๆ โดยพยายามชูจุดขายด้วยรูปทรงแปลกๆ ผมคิดว่า ไม่น่าสนใจอะไรครับ เปลืองเงินโดยใช่เหตุ ส่วนที่เขาอ้างว่า จะได้กลิ่นกาแฟ ที่หอมกว่า ก็เพราะเขาใช้วิธีแกว่งแก้ว แล้วคราบกาแฟไปติดตามผิวด้านในของแก้วเป็นเนื้อที่มากขึ้น มันก็ช่วยให้ ได้กลิ่นกาแฟ ชัดเจนขึ้นเท่านั้นเองครับ ไม่มีอะไรพิเศษ

แก้วเซรามิค ศิลาดล สีน้ำตาล
89 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok ครับ

ขนาด : 2.5 x 3.5″ ความจุ : 6 oz . (180 ml.)
แก้วเซรามิค ใบนี้ ผมซื้อมาเพื่อใช้ใส่น้ำร้อน จิบดื่ม ทั้งก่อน และ หลังจาก ดื่มกาแฟ แล้วครับ ทีแรก ผมกะว่า ผมจะใช้แก้ว Espresso ใส่น้ำร้อนไปด้วยในตัว แต่ผมก็พบว่า แก้วมันเล็กเกินไปครับ ใส่ปริมาณน้ำร้อนได้ไม่พอ ผมจึงต้องซื้อแก้วเพิ่มครับ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานครับ

Twin Fish ช้อนกาแฟ Espresso 602-30
28 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก สวยครับ

จริงๆแล้ว รายการนี้ ก็ไม่ได้จำเป็นเท่าไร แต่ผมชอบการออกแบบของ ช้อนรุ่นนี้มาก และ ราคาก็ไม่แพงเลย มีขนาด 10.6 x 1.9 cm. ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมมาก ที่จะใช้กับ แก้ว Espresso ขนาดเล็ก เพราะหากว่า ใช้ช้อนขนาดใหญ่ ก็จะทำให้ คนกาแฟ ในถ้วยขนาดเล็กได้ลำบาก

เรื่องการคน กาแฟ ด้วยช้อน กับ การแกว่ง แก้วกาแฟให้ กาแฟ ไหล วน ในถ้วย แบบไหนจะดีกว่ากัน ผมไม่รู้ครับ การทดสอบคงเป็นเรื่องลำบาก แต่วิธีคนกาแฟ ด้วยข้อนนั้น ลงทุนน้อยกว่าเยอะ และน่าจะได้ผลดี โดยไม่ต้องไปซื้อแก้วแบบพิเศษ ราคาร่วมพันบาท ที่มีครีบในตัว เพื่อช่วยให้ กาแฟเข้ากันได้ดีในระหว่างการแกว่งนั้น ด้วยวิธีการคนนั้น คุณเพียงลงทุนในช้อนกาแฟ ประมาณ 30 บาท กับ แก้ว Espresso ประมาณ 50-200 บาท รวมกันประมาณ 70-250 เท่านั้นเอง ถูกกว่าแบบแกว่ง หลายเท่าตัวครับ

อ้อ และ James Hoffmann ก็แนะนำว่า ให้หยุดแกว่ง แก้วกาแฟ และ หันมาใช้วิธี คนกาแฟ แทน ดีกว่าครับ

ถาดไม้ยางพารา ขนาด 5 * 12 นิ้ว
149 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

ถาดไม้นี้ ผมจะใช้เพื่อ ยกถ้วยกาแฟ พร้อม ช้อน และ ถ้วย น้ำร้อน ไปนั่งดื่ม ที่โต๊ะทำงานครับ เพราะคงจะดีกว่า ชงเสร็จแล้ว ไปยืนดื่มที่ตรงเครื่องชงกาแฟเลย ผมได้ไอเดีย ตอนที่ไปนั่งดื่มกาแฟที่ร้าน เพราะเขาจะยกมาเสิร์ฟ เป็นชุด ด้วยถาดครับ ผมก็เลยคิดว่า น่าจะดีที่ผมจะซื้อถาดมาใช้บ้างครับ ตอนแรก ชั่งใจว่า จะซื้อถาดเหล็ก หรือ ถาดไม้ ดี แต่คิดไปคิดมา เลยซื้อถาดไม้ดีกว่า เพราะต้องการให้ มัน soft ขึ้นบ้างครับ

Ikea MALMBÄCK มาล์มเบค ชั้นติดผนัง ขาว 60 ซม.
249 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

ผมซื้อชั้น อันนี้ เพื่อเอามาวางโชว์ บรรดา แก้ว Espresso ทั้งหลาย ที่ผมหาเรื่องซื้อมา หลายใบ ซึ่งไม่ได้จำเป็นอะไรเลย แต่ผมก็ พิไร ซื้อของผมไปเรื่อย ราคาชั้นวางนี่ แพงกวา ราคาแก้วทั้งหลาย ที่ซื้อมาด้วยซ้ำไปครับ อิ อิ

ติดตั้งชั้นวางเรียบร้อย

แก้วตวง Espresso
110 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

ผมซื้อแก้วนี้มาเผื่อๆไว้ สำหรับกรณีที่ผมอยากจะตวงปริมาตรของ กาแฟ ที่ได้ในระหว่างการสกัดครับ แต่คิดว่า ในทางปฎิบัติ คงไม่ได้ใช้หรอกครับ เพราะผมคงเน้นการสกัดแบบใช้ Ratio 1:2 โดยดูน้ำหนักที่สกัดได้ มากกว่า ที่จะไปเน้นดูปริมาตรที่ต้องได้ 2 ออนซ์ (60 ml) ในเวลา 30 วินาทีครับ (เป็นวิธีสกัด Espresso สองแบบที่มีแนวทางต่างกันครับ มีคนใช้อยู่ทั้งสองแบบ แต่ผมเอง จะเลือกใช้วิธีสกัดตามอัตราส่วน 1:2 ในเวลา 25-30 วินาที โดยประมาณครับ) แต่ที่แก้วใบนี้จะมีประโยชน์คือ ใช้เป็นแก้วที่เปลี่ยนเข้าไปรองรับ น้ำกาแฟที่เหลือ หลังการสกัด ไม่ให้ หกเลอะเทอะครับ ก็จะเอาแก้วใบนี้ไปรองรับไว้แทนครับ และ เผื่อๆเอาไว้ หากว่า ผมต้องการใช้ประโยชน์ใดๆ เกี่ยวกับเรื่องการวัดปริมาตรของกาแฟครับ

ช้อนไม้ ตักเม็ดกาแฟ ผลิตในจีน
75 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

อันนี้ ก็ไม่จำเป็นสักเท่าไรครับ แต่ผมเห็นว่า มันสวยดี และ ราคาไม่แพง ก็เลยซื้อมาใช้ครับ จริงๆแล้ว จะใช้ช้อน อะไร ก็ได้ ในการตัก เม็ดกาแฟออกจากถุง ลง Dosing Cup จะใช้วิธี เทจากถุง แล้วใช้นิ้วหยิบเม็ดส่วนเกินกลับเข้าถุง ยังได้เลยครับ

ตะเกียบไม้ ข้างเดียว
ฟรี ได้แถมมาจากร้านอาหารทั่วไป
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

ตะเกียบไม้อันนี้ มีประโยชน์ดีมากครับ ผมใช้มันทำงานหลายอย่างด้วยกัน
1. ใช้เป็นอุปกรณ์ RDT ด้วยการจุ่มน้ำ แล้วเอามาคนๆ เมล็ดกาแฟครับ ก็เสร็จสิ้นครับ ทั้งนี้เพื่อลด static เวลาบดเมล็ด
2. ใช้คนเมล็ดกาแฟ ต่างชนิด ให้เข้ากันครับ ทั้งนี้ เพื่อ Blend เมล็ดกาแฟ ชนิดต่างๆ ตามแต่ผมจะต้องการ ผมจะคนๆไปมา แล้วเขย่าๆ สั้ก 4-5 ครั้ง ก็เสร็จสิ้น อย่างรวดเร็วครับ
3 ใช้งัด puck ออกจาก basket เวลาที่คั้นกาแฟ เสร็จแล้วครับ ผมจะไม่เคาะ แต่จะงัด puck ทิ้งลงถุงขยะไปเลยครับ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง สะดวก ประหยัด ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ให้วุ่นวาย โดยไม่จำเป็นครับ ผมไม่เคาะ knock box เพื่อเอา ก้อนคุ้กกี้ มาดูครับ เพราะผมมองว่า เป็นเรื่องไร้สาระ และ เสียเวลา ครับ

ดังนั้น แนะนำครับ หากยังไม่มี ก็ให้หาของฟรี มาใช้ครับ มีประโยชน์ และ คุ้มค่า มากๆครับ เพราะเป็นของฟรี ที่ใช้งานได้หลายหน้าที่จริงๆครับ

Mirror Shot
165 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

กระจกอันนี้ ผมซื้อ กระจก พกพา ของสาวๆ มาใช้เป็น Mirror Shot ครับ เพราะมีราคาถูกกว่า หากไปซื้อ กระจกที่เขาโฆษณาว่า เป็น Mirror shot ราคาต่ำสุดที่เห็นคือ 350 บาทขึ้นไป แต่อันนี้ แค่ 165 บาทเอง และ มีไฟในตัวด้วย ขนาดกำลัง กระทัดรัด (8.5 x 8.5 cm.) เหมาะสมกับการใช้เป็น Mirror Shot อย่างยิ่งครับ

Mirror Shot นี่ เราเอาไว้ ดูการไหลของ Espresso ในระหว่างที่เราสกัดครับ เพื่อดูว่า ไหลเร็ว หรือ ไหลช้า เร่ิมไหลเมื่อไร ไหล่ต่อเนื่องไหม เกิด channeling ขึ้นหรือไม่ เป็นต้นครับ เพราะเราคงจะใช้วิธี ถ่ายคลิปมาดูทุกๆครั้ง คงไม่สะดวกครับ ใช้ Mirror Shot สะดวกกว่ามากครับ

iKea BEVARA เบียวอร่า
ที่หนีบปากถุง, คละสี 29 บาท / 10 ชิ้น
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

ที่หนีบปากถุงอันนี้ ซื้อมาเผื่อๆไว้ครับ ในกรณีเกิดว่า ผมต้องการ ปิดผนึก ถุงกาแฟ เป็นการชั่วคราว ส่วนถ้าหากว่า จะเก็บเม็ดกาแฟไว้ในถุงแบบนาน จริงๆ ผมคงใช้วิธี ซีลในถุงสูญญากาศ แล้วแช่ในช่องฟรีซ มากกว่าครับ

แปรงปัด ทำความสะอาด อุปกรณ์ต่างๆ
49 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

แปรงธรรมดาครับ เอาไว้ ปัดผงกาแฟ ที่อาจจะติดอยู่ตามท่ีต่างๆ เช่น ตรง ลำตัวของเครื่องบดผงกาแฟ ที่แท่นวาง portafilter เป็นต้นครับ และ ในทุกๆที่ ที่เป็นพื้นที่ ๆ ไม่ได้สัมผัส กับผงกาแฟ โดยตรง ก็จะใช้แปรงตัวนี้ ปัด ครับ ใช้งานได้ดี ราคาไม่แพงครับ

แปรงปัด ทำความสะอาด แปรงขนหมู Food Grade
44 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคาถูก

แปรงอันนี้ ผมซื้อมาเพิ่มเติม เพื่อใช้ปัด ในส่วนที่สัมผัสกับ ผงกาแฟ โดยตรง เพื่อความสะอาดที่ดีขึ้น เช่น การปัด basket การปัดด้านในของเครื่องบดกาแฟ เป็นต้นครับ และ เป็นขนที่ทำจากธรรมชาติด้วย ผมคิดว่า มันปลอดภัยกว่า แปรงที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ครับ

DustPan
160 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

เอาไว้ ปัด เก็บกวาด เศษผง ต่างๆ ที่อยู่บน Espresso Bar ของผมครับ ขนาดเล็ก เหมาะสมกับการทำความสะอาดในพื้นที่เล็กๆ ครับ

Black & Decker รุ่น BHHV315J-B1
1,290 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

ในที่สุด ผมก็ต้องซื้อเครื่องดูดฝุ่น มาใช้กับ Espresso Bar ของผม โดยเฉพาะกิจ
เนื่องจาก มันจำเป็นต้องใช้งานตอนที่ ทำความสะอาด เครื่องบด Zentris เป็นระยะๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และ จำเป็นต้องใช้เครื่องดูดฝุ่น ขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกในการทำงานครับ และ อีกอย่าง คือ ใช้ดูดผงกาแฟ ที่ตกค้างบน Bar Mat และ พื้นโต๊ะรอบๆ บริเวณ Espresso Bar ของผมด้วยครับ ผมคิดว่า นี่เป็นอุปกรณ์ที่ ควรจะมีอีกอย่างที่ Espresso Bar ครับ และ น่าจะซื้อใช้แยกต่างหาก จากเครื่องดูดฝุ่นหลักที่ใช้ในบ้านครับ

Bar Mat
130 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

ข้อดีของการมี Bar Mat นอกเหนือจากที่ว่า สามารถดักเก็บ ผงกาแฟ ที่ตกกระจายไปรอบๆ ระหว่างการ บด เมล็ดกาแฟ และ สามารถเอาไปล้างทำความสะอาดได้ง่ายแล้ว Bar Mat ผืนนี้ ยังช่วยให้ Zentis NZR-64 อยู่นิ่งกับที่ ไม่ขยับไปทีละนิด ทีละนิด เวลาที่เปิดเครื่องใช้งานครับ หากไม่มี Bar Mat เครื่องจะค่อยๆหมุนไปเรื่อยๆ เนื่องจาก พื้นผิวกระจกจะมีความลื่นที่ทำให้ NZR-64 สไลด์ เคลื่อนที่ไปได้เรื่อยๆครับ

Update – ผมซื้อ Bar Mat มาเพิ่มครับ เป็นขนาด 20 x 35 cm. ครับ ซึ่งเป็นขนาดที่พอดีเป๊ะ ที่จะใช้รองใต้ Flair 58 ครับ ข้อดีของการใช้มันคือ ทำให้ Flair 58 มีการลื่นไถล น้อยลงครับ ราคาก็ ตก 210 บาท สำหรับแผ่นใหม่นี้ ราคามันสูงกว่าแผ่นใหญ่อีกนะครับ แต่ในเมื่อ มันหาขนาดนี้ได้ยาก ก็ต้องยอมจ่ายละครับ

กล่องเก็บสายไฟสีดำ
159 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok

ผมซื้อกล่องนี้มา เพื่อเก็บซ่อน หม้อแปลงไฟของ Flair 58 และ เก็บ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำกาแฟของผมครับ

Cafiza ผงล้างหัวชง Espresso Machine
600 บาท
พอซื้อ Decent DE-1 Pro มาใช้ ก็เลยต้องซื้อผงล้างหัวชงมาใช้ครับ เพราะจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดหัวชง เป็นระยะๆ ครับ

แปรงไนล่อนสําหรับทําความสะอาดเครื่องชงกาแฟ
85 บาท
ใช้ขัดล้าง ทำความสะอาดหัวชง ของ Espresso Machine ครับ


ก็… หมดแล้วครับ อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บน Espresso Bar ของผม

ในอนาคต ผมก็ไม่รู้นะครับว่า ผมจะซื้ออะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ? แต่คิดว่า ไม่น่าจะมี ถ้าจะมี ก็คงเป็นการ upgrade เครื่องบด เท่านั้น (แต่ก็อาจจะพอใจกับ NZR-64 ไปเลยก็ได้ หากใช้แล้ว ไม่มีปัญหาอะไรตามมา)

หวังว่า ข้อมูลในนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ที่สนใจในการชง Espresso ทานเองที่บ้าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นมือใหม่ เริ่มค้นหาข้อมูลต่างๆเหมือนผม ก็ลองอ่าน เก็บข้อมูล และ ไปตรวจสอบ เปรียบเทียบ กับข้อมูล และ ความเห็นอื่นๆ แล้วพิจารณาดู แนวทางในการเลือกซื้ออุปกรณ์ มีหลากหลายแนวทาง บางท่านก็ต้องการความสวยงาม หรูหรา บางท่านก็เน้นประโยชน์ใช้สอย ซึ่งไม่ว่า จะเลือกในแนวทางใด สิ่งสำคัญสุดท้ายคือ ได้ Perfect Shot ของ Espresso แก้วโปรด ของแต่ละท่านครับ ขอบคุณครับ


อุปกรณ์ต่างๆที่ผมเคยใช้งาน แต่ได้เลิกใช้งานไป หรือ ไม่ได้ใช้งาน ครับ

ขวดสเปรย์ 100 ml.
8 บาท
สรุป – ไม่แนะนำครับ ใช้ๆไป ผมว่า มันแข็ง นะครับ กดไม่ค่อยลง

ขวดสเปรย์นี้ เอาไว้ใส่น้ำ เพื่อ พ่นลงไปที่เม็ดกาแฟ เล็กน้อย ก่อนที่จะทำการบดครับ เพื่อลดปัญหา Static ของ Zentis NZR-64 ซึ่งหากไม่ทำ ผงกาแฟ จะกระจายไปเกาะเลอะเทอะ ที่ตัวเครื่อง และบริเวณรอบๆ จนเลอะไปหมดครับ

update – เลิกใช้งานครับ ผมพบว่า ใช้ตะเกียบไม้ จุ่มน้ำ แล้วเอามาคนๆ เมล็ดกาแฟ แทน ก็ได้ครับ ไม่ต้องเสียเวลาสเปรย์ และ อีกอย่างหนึ่ง ในกรณี ที่ผมต้องการ Blend เมล็ดกาแฟ ต่างชนิดเข้าด้วยกัน การใช้ ตะเกียบไม้ จะทำงานได้สองอย่างพร้อมกันคือ RDT ไปด้วย และ คนเมล็ด ผสมเมล็ดต่างชนิดกัน ให้เข้ากันได้ด้วยในตัว กระสุนนัดเดียว ยิงนกได้สองตัวครับ

KnockBox
219 บาท
สรุป – ไม่แนะนำ ผมว่า ไม่ต้องเคาะดีกว่าครับ ใช้ ตะเกียบ คว้านออกมาจาก basket ลงไปในกล่องขยะ โดยตรง เลยดีกว่า เร็วกว่า สะดวกกว่า ครับ

ถังนี้ เอาไว้เคาะกากกาแฟ ทิ้ง หลังจากสกัดเสร็จครับ ก็ใช้เพื่อความสะดวกในการ ทิ้งกากกาแฟ และ การ เอาไว้รองรับ ตอนที่เรากวาดผงกาแฟ ที่อาจ หก กระจัดกระจาย อยู่ครับ

Update – ตกลงผมตัดสินใจ เลิกใช้ Knock Box ครับ แล้วก็เก็บไว้เฉยๆ เนื่องจากผมพบว่า มันง่ายกว่า เร็วกว่า ด้วยการใช้ ตะเกียบไม้ งัด puck ใน portafilter ลงถุงขยะไปเลยในขั้นตอนเดียว ไม่ต้องไปเคาะ puck ลง knock box แล้ว ก็ต้องมาเสียเวลา เทมันลงในถุงขยะอีกที แถมยังต้องมานั่งล้างทำความสะอาด Knock Box อีกครั้ง ซึ่งทำให้ยุ่งยาก เสียเวลามาก ผมจึงตัดสินใจหยุดใช้ครับ

ผมคิดว่า Knock box นั้น อาจจำเป็นสำหรับร้านกาแฟครับ เพราะใช้ปริมาณเยอะ แต่สำหรับ Home use ที่ใช้เพียงวันละครั้ง มันไม่จำเป็นเลยครับ ส่วนการที่จะต้องเคาะ puck ออกมาให้เป็นก้อนคุกกี้นั้น เป็นเรื่องไร้สาระมากๆ ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมไม่จำเป็นจะต้องเคาะ puck ด้วย Knock box ให้ออกมาเป็นก้อนๆ เพื่อเอามาดูหรอกครับ จะเอามาดูทำไมกัน เพื่ออะไร ? หากคุณกดไล่น้ำ ให้หมดทุกๆครั้ง เคาะกี่ครั้ง มันก็เป็นก้อน คุ้กกี้ ออกมาอยู่แล้ว ผมไม่เข้าใจว่า ทำไม ถึงได้เป็นประเด็นใหญ่โต นักหนา ไม่เคยเข้าใจเลยครับ….

ว่าแล้ว ผมก็ใช้ตะเกียบไม้ งัด puck ทิ้งแทนครับ ผมไม่สนอยู่แล้วว่า ชาวบ้านเขาจะคิดยังไงครับ ผมสะดวกอะไร ผมก็เลือกทำแบบที่ผมต้องการครับ

Tamper ขนาด 58.5 ราคา 1,339 บาท
Tamper ขนาด 58.3 mm. ราคา 1,739 บาท

Tamper
สรุป – ไม่แนะนำครับ ผมว่า ซื้อแบบ ควบคุมแรงกด แบบของ Normcore ดีกว่าครับ

เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้กดอัด ผงกาแฟ ใน Basket ให้แน่น ครับ เพื่อไล่ฟองอากาศทั้งหมดออกไป และ ไม่ให้เกิด channel ขึ้น เพื่อให้น้ำไหลผ่านไปอย่างสม่ำเสมอในทุกๆจุด Tamper เป็นอุปกรณ์ อีกอย่างที่ มีขายกันในราคาแพงๆ หลายๆพันบาท ซึ่งหลังจากผมค้นคว้าข้อมูล และ อ่านรีวิว แล้ว ผมตัดสินใจซื้อ Tamper ราคาประหยัดแทนครับ

เพราะ Tamper นั้น เราแค่ต้องการให้การ กดอัด เป็นการกดอัด ที่ได้ระนาบ ไม่เอียง และ มีหน้าที่ราบเรียบ ไม่เกิดหลุม หรือ เนินสูงขึ้นมา ส่วนแรงที่ใช้ในการ กดลงไปนั้น ไม่ได้มีความสำคัญต่อรสชาติกาแฟนัก ผมจึงเลือกซื้อ Tamper ของจีน ที่เป็นระบบสปริง ที่มีระบบกันเอียงในตัว ซึ่งผมจะได้ประโยชน์สองอย่างคือ กดแล้วไม่เอียงแน่นอน และ ได้ความสม่ำเสมอในแรงกดแต่ละครั้งว่า จะเท่ากันโดยสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องคาดเดาครับ เพราะ Tamper แบบนี้ จะกำหนด ระดับความลึกของการกด เอาไว้ตายตัวเสมอครับ ซึ่งเราปรับได้ตามต้องการว่า จะให้ตื้นหรือ ลึก เท่าไรครับ

ที่เห็นผม ซื้อ Tamper มาสองอัน ก็เพราะว่า ทีแรก ผมอ่านเจอข้อมูลว่า ควรใช้ขนาด 58.5 mm. กับ Flair 58 ก็เลยซื้อขนาด 58.5 mm. มาก่อน แต่พอซื้อมาแล้ว มีโอกาสได้เขียนไปถามผู้ผลิต Flair ซึ่งทางผู้ผลิตแนะนำว่า ควรใช้ขนาด 58.3 mm. แทน ผมก็เลยต้องซื้อขนาด 58.3 mm. มาเพิ่มอีกอันครับ ซึ่งคงต้องลองใช้ดูว่า อันไหน จะให้ผลดีกว่ากันครับ หากว่า ผมเลือกอันใดอันหนึ่ง ผมค่อยขายอีกอัน ทิ้งไปครับ

update – ผมพบว่า Tamper ที่ควบคุมแรงกด ด้วยการกำหนดระยะความลึกของการกด นั้น จะใช้ได้ผล ในกรณี ที่เราไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ผงกาแฟเลยครับ ใช้ผงกาแฟ ยี่ห้อเดียว รุนเดียว การคั่วระดับเดียวกัน เท่านั้น เราจึงจะแน่ใจได้ว่า เราใช้แรงกดเท่าๆกันในการกดทุกๆครั้ง

แต่หากเราเปลี่ยน เมล็ดกาแฟ ไปเป็นคนละยี่ห้อ คนละรุ่น คนละระดับการคั่ว ปริมาณผงกาแฟที่ได้จากการบด จะแตกต่างกัน และ นั่นทำให้ ถึงแม้เราจะกดอัด ผงกาแฟ ลงไปที่ระดับความลึกเท่าๆกัน แต่แรงที่ใช้การกด จะไม่เท่ากันครับ หากผงกาแฟมากกว่า ก็ต้องใชแรงในการกด มากขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ได้ระดับความลึก เท่ากับ เมล็ดคั่วอ่อนที่ได้ปริมาณผงกาแฟน้อยกว่า คั่วเข้ม (คั่วเข้มมากขึ้นเท่าไร จะต้องใช้จำนวนเมล็ดกาแฟมากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ได้นำ้หนัก 18 g เท่ากับ เมล็ดที่คั่วอ่อนลงมา เพราะคั่วเข้ม จะแห้งกว่า และ เปราะมากกว่า เมล็ดคั่วอ่อนครับ)

Update –
ผมตัดสินใจขาย Tamper ทั้งสองตัวนี้ออกไปครับ แล้วหันไปใช้ Tamper ของ Normcore แทนครับ Tamper ทั้งสองตัวที่ขายออกไปนี้ มันก็เป็น Tamper ที่ทำงานได้ดีนะครับ และ สวยงาม การผลิตทำมาได้ดีครับ ไม่มีข้อเสียใดๆครับ

Dosing Ring
ราคา 105 บาท
สรุป – แนะนำครับ คุณภาพดี ราคา ok แต่จำเป็นต้องใช้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ work flow ของแต่ละคน ของผมเอง ผมไม่ใช้ครับ

อุปกรณ์ชิ้นนี้ ใช้สวมครอบ Basket เพื่อป้องกัน การหกกระจาย เลอะเทอะของผงกาแฟครับ จริงๆแล้ว ผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า จำเป็นต้องใช้หรือไม่ แต่ก็ซื้อมาเก็บไว้เผื่อๆไว้ก่อนครับ เผื่อต้องใช้ครับ
Update – ในที่สุด ซื้อมาแล้ว ก็ไม่ได้ใช้งานครับ เพราะหันมาใช้งาน Dosing Collar for Portafilter เป็นหลักครับ Dosing Ring อันนี้ ใช้งานได้ไม่กี่ครั้ง ก็เก็บครับ จะขายก็ไม่ได้ เพราะ ขายได้ ก็ไม่กี่บาท ไม่รู้จะขายทำไม

Distributor & Tamper
สรุป – มันก็ทำงานได้ ok นะครับ แต่มีผงกาแฟ ติดขึ้นมาบ้างในบางครั้ง จึงไม่ได้สรุปว่า แนะนำให้ใช้ตัวนี้ แต่ข้อดี คือ ราคาถูก

ของจีน ราคา 470 บาท (มีคนขายถูกกว่านี้ ที่ 300 บาท แต่ผมมาเห็นทีหลัง เป็น distributor อย่างเดียว)
Distributor เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้เกลี่ย หน้าของผงกาแฟ ใน basket ให้ราบเรียบ ก่อนที่จะ Tamp ครับ จริงๆแล้ว อุปกรณ์อันนี้ ค่อนข้างไม่จำเป็น เพราะผมเห็นผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่า ไม่ต้องใช้แต่อย่างใด แค่เคาะกับอุ้งมือ ก็เพียงพอแล้ว แต่.. ผมก็อยากจะ สะดวกรวดเร็ว ขึ้นเล็กน้อย ขี้เกียจจะมาค่อยๆเคาะทีละน้อย หลายๆครั้ง จึงเลือกซื้อ Distributor ราคาถูกๆ ของจีน มาใช้ ส่วนที่ราคาสูงๆนั้น ผมคิดว่า ไม่จำเป็นครับ ใช้ของธรรมดาพอแล้วครับ

ตัวที่ผมซื้อ จะเป็นทั้ง distributor และ Tamper ในตัวครับ แต่ด้าน Tamper คงไม่ได้ใช้ เพราะมันมีขนาด 58 mm. ซึ่ง เล็กเกินไปครับ

update – ผมขายไปแล้วครับ เพราะซื้อของ Normcore มาใช้แทนครับ หากเปรียบเทียบกัน ของ Normcore ดีกว่าครับ เพราะไม่มีผงกาแฟ ติดมาให้เห็น แต่ของจีน แบบ สามใบพัดตัวนี้ มักจะมีผงกาแฟ ติดมาให้เห็นทุกๆครั้งที่ใช้งานมันครับ

Needle Distributor (WDT : Weiss Distribution Technique)
ราคา 117 บาท
สรุป – ไม่แนะนำครับ มันไม่ work

เนื่องจาก เวลาที่เรา บดเม็ดกาแฟ ออกมานั้น ผงกาแฟ อาจจับตัวเป็นก้อนได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะเกลี่ยหน้า และ กดอัด ผงกาแฟนั้น เราจำเป็นต้องใช้ Needle ลงไป กวนๆ วนๆ ให้ผงกาแฟนั้น แตกตัว กระจาย ตัวกันออกไปให้สม่ำเสมอ ก่อนที่จะเกลี่ยหน้า ผงกาแฟครับ และ เช่นเดียวกัน อุปกรณ์ชิ้นนี้ มีตั้งแต่ราคาหลายๆพันบาท ลงมาจนถึง ร้อยกว่า บาท ซึ่งผม เลือกแบบที่ถูกที่สุด เท่าที่จะหาได้ครับ จริงๆแล้ว จะ DIY ก็ได้ มีคนสอนเยอะแยะครับ แต่ผมขีเกียจทำเองครับ จึงซื้อแบบถูกๆมาใช้แทน

Update – ผมเพิ่งอ่านพบความเห็นว่า WDT ที่ใช้ได้ผลนั้น ไม่ควรมีขนาดของเข็ม ที่ใหญ่เกินไปครับ เพราะจะมีความแข็งมากเกินไป จนไม่เกิดการให้ตัว ในระหว่างการเกลี่ยผงกาแฟ และจะทำให้ ผงกาแฟ จะยังคงจับตัวเป็นกลุ่มก้อนใหญ่เกินไป ดังนั้น WDT ตามภาพข้างบน ก็อาจจะใช้งานได้ไม่ดีนัก ผมจึงกำลังคิดจะทำ DIY ขึ้นมาเองครับ ไว้หากทำสำเร็จ จะค่อยเอามาให้ดูกันภายหลังครับ ตัวนี้ไม่ได้ขายครับ เก็บไว้เฉยๆ เพราะราคามันน้อย ขายก็ไม่คุ้มครับ

Timemore Thermostat
ราคา 199 บาท
สรุป – N/A ผมซื้อมาเก็บครับ ไม่ได้ใช้เลย

ตัววัดอุณหภูมิน้ำครับ ตัวนี้ อาจจะเป็นอีกตัวที่ซื้อมาแล้ว ไม่ได้ใช้ เพราะซื้อมาตอนที่ ยังไม่ได้คิดจะซื้อ กาน้ำไฟฟ้าแบบ คุมอุณหภูมิ ได้ ก็เลยคิดว่าจะใช้กาน้ำร้อนธรรมดา ซึ่งต้องใช้ตัววัดอุณหภูมิ ต่างหากมาวัดว่า อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่เท่าไรกันแน่ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้สกัด Espresso ครับ

แก้ว ผนังสองชั้น 60 ml. พร้อมถาดรองไม้ ผลิตในจีน
105 บาท
สรุป – ไม่แนะนำครับ ขนาดเล็กเกินไป และ มีรูที่ก้นแก้ว ทำให้น้ำไหลเข้าไปได้ง่ายครับ

อันนี้ ก็ไม่จำเป็นสักเท่าไรครับ ผมเห็นราคามันไม่แพง ก็เลยซื้อๆมา ใช้สลับๆ กันไป ตามอารมณ์ ครับ แก้วสองชั้นแบบนี้ น่าจะจับได้ถนัดมือมากขึ้น เพราะก้นแก้ว บานออก ไม่ได้สอบเข้า ตอนที่หยิบแก้วใบนี้ เราใช้นิ้วก้อย คอยประคองไว้ที่ก้นแก้ว ได้ง่ายกว่า แก้วสองชั้น ที่ก้นแก้ว เล็กกว่านี้ครับ

updated – ได้จับของจริง และ ลองใส่น้ำเข้าไปดู ปรากฎว่า แก้วรุ่นนี้ ท่าทางจะเล็กเกินไปครับ เพราะพอเติมน้ำ ในน้ำหนัก 36 g เข้าไป ก็เต็มแก้ว แบบปริ่มๆ จะล้นแหล่ มิล้นแหล่ ครับ จึงคิดว่า หากจะนำมาใช้งานจริงๆ คงลำบากครับ เพราะแทบไม่มีเนื้อที่เผื่อเหลือเผื่อขาดอยู่เลยครับ จึงตัดสินใจ ไม่ใช้งานครับ และ เก็บไว้เฉยๆ เพราะจะขาย ก็ไม่รู้จะขายได้กี่บาท ค่าส่งก็ไม่คุ้มค่าปวดหัวแล้ว เกิดส่งไปแล้วแตก ก็ยิ่งยุ่งกันไปใหญ่ครับ เก็บไว้เฉยๆดีกว่า

ข้อเสียอีกประการหนึ่ง คือ ที่ก้นแก้ว จะมีรูเล็กๆอยู่ ซึ่งเกิดจาก ขั้นตอนการผลิต ซึ่งผมไม่ได้สนใจในแง่ของความสวยงาม แต่ปัญหาคือ เวลาล้างแก้ว น้ำมันจะไหลผ่านรูเล็กๆนั้น เข้าไปข้างในแก้วครับ ทำให้เกิดนำ้ขังอยู่ด้านใน ในทุกครั้งที่เราล้างแก้ว ซึ่งค่อนข้างน่ารำคาญ ที่เราจะต้องคอยมาเอียงแก้วไปมา เพื่อไล่น้ำ ข้างใน ให้ไหลออกมาข้างนอกครับ อันนี้เป็นข้อเสียค่อนข้างมากของแก้วรุ่นนี้ ผมจึงไม่แนะนำครับ อย่าซื้อครับ ให้หลีกเลี่ยง แก้วรุ่นนี้ มันไม่ work ครับ

เครื่องชั่งแบบจับเวลาได้ในตัวของ Maxus
879 บาท
update – ผมขายทิ้งไปแล้วครับ

สรุป – ไม่แนะนำครับ เพราะมันทำงานได้ไม่ค่อยดีเท่าไร บางครั้งก็ตอบสนองช้า บางครั้งถึงขั้นไม่ตอบสนองเลย ถึงแม้ว่า ราคาจะถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่ว่า พอใช้ๆไป ในที่สุดก็ต้อง upgrade อยู่ดีครับ ดังนั้น ผมคิดว่า ซื้อในระดับสัก Timemore Nano ขึ้นไป หรือ ซื้อ Felicita Arc ก็ได้ครับ Scale ค่อนข้างสำคัญ จึงควรจะลงทุนครับ อีกทั้ง ราคาที่ขายกันในไทย สูงกว่า ที่เมืองนอกเยอะทีเดียว เพราะที่เมืองนอกขายอยู่ที่ประมาณ 350 บาท เท่านั้นครับ

เครื่องชั่งน้ำหนัก Maxus เครื่องนี้ จะคล้ายๆ Weightman แต่วางตำแหน่งปุ่มไม่เหมือนกัน ผมจะชอบของ Maxus มากกว่า เพราะเอาปุ่ม Time มาอยู่ด้านซ้าย ตัวเลขมีขนาดใหญ่ ชัดเจน ตัวเครื่องมีขนาดกระทัดรัด สามารถใช้งานกับ Flair 58 ได้ โดยไม่มีปัญหาว่า จะใหญ่เกินไปครับ ราคา 879 บาท (ราคาต่ำสุดที่ผมเห็นคนเขาเอามาขายคือประมาณ 600 บาท ราคาที่ amazon ประมาณ 330 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าส่งมาไทย) ซึ่งเครื่องชั่งพวกนี้ จะทำมาในหลายๆยี่ห้อ เข้าใจว่า จะมาจากโรงงานเดียวกัน และที่เมืองนอก ขายกันที่ราคาประมาณ 400 บาทเท่านั้น แต่สำหรับในเมืองไทย ยังหาที่ราคาถูกขนาดนั้น ไม่เจอครับ

ตัวเครื่องดูดี มีน้ำหนัก ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ปุ่ม On/Off ปุ่ม Tare ปุ่ม Mode เลือกหน่วยน้ำหนัก และ ปุ่ม Time ที่กดครั้งหนึ่งเร่ิมนับเวลา กดอีกครั้งหยุดเวลา กดอีกครั้ง กลับไปที่เลขศูนย์ 

ผมใช้เวลา หา Scale อยู่เป็นอาทิตย์ เพราะส่วนใหญ่ ขนาดจะใหญ่เกินไป จนวางใน Flair 58 ไม่ได้ ตัวที่จะมีขนาดเล็กเพียงพอ ที่จะวางลงไปได้ มีอยู่ค่อนข้างน้อยครับ และ ตัวนี้ มีคุณสมบัติ อย่างที่ผมต้องการทุกอย่างคือ จับเวลาได้ในตัว ราคาประหยัด ส่วนใหญ่แล้ว จะหาที่มีฟังก์ชัน จับเวลาอยู่ในตัวได้ น้อยครับ ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก

แต่มันก็ไม่มีฟังก์ชัน Auto Tare , Auto start หรือ Bluetooth นะครับ และเนื่องจากมันเป็นเครื่องราคาประหยัด จึงทำให้ การทำงานของมัน สู้คู่แข่ง ที่มีราคาสูงกวาไม่ได้ครับ ดังนั้น หากว่า พอจะเจียดงบได้ ผมแนะนำว่า ซื้อ Scale ที่ดีกว่านี้ดีกว่าครับ ยกเว้นว่า มีข้อจำกัดด้านงบประมาณจริงๆ ถ้าเช่นนั้น มันก็ทำงานได้ดีพอใช้ได้ พอจะทนๆได้ครับ หากจำเป็นจริงๆ

ผมใช้เวลา หา Scale อยู่เป็นอาทิตย์ เพราะส่วนใหญ่ ขนาดจะใหญ่เกินไป จนวางใน Flair 58 ไม่ได้ ตัวที่จะมีขนาดเล็กเพียงพอ ที่จะวางลงไปได้ มีอยู่ค่อนข้างน้อยครับ และ ตัวนี้ มีคุณสมบัติ อย่างที่ผมต้องการทุกอย่างคือ จับเวลาได้ในตัว ราคาประหยัด ส่วนใหญ่แล้ว จะหาที่มีฟังก์ชัน จับเวลาอยู่ในตัวได้ น้อยครับ ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก

แต่มันก็ไม่มีฟังก์ชัน Auto Tare , Auto start หรือ Bluetooth นะครับ และเนื่องจากมันเป็นเครื่องราคาประหยัด จึงทำให้ การทำงานของมัน สู้คู่แข่ง ที่มีราคาสูงกวาไม่ได้ครับ ดังนั้น หากว่า พอจะเจียดงบได้ ผมแนะนำว่า ซื้อ Scale ที่ดีกว่านี้ดีกว่าครับ ยกเว้นว่า มีข้อจำกัดด้านงบประมาณจริงๆ ถ้าเช่นนั้น มันก็ทำงานได้ดีพอใช้ได้ พอจะทนๆได้ครับ หากจำเป็นจริงๆ

Flair 58
17,000 บาท (เก็บไว้เฉยๆ เป็นเครื่องสำรองครับ)
สรุป – แนะนำ หากคุณต้องการเครื่องชงกาแฟ ที่สามารถทำกาแฟคุณภาพ ได้เท่ากับ เครื่องชงราคาสูงๆ
ข้อจำกัด คือ ผู้ชง จะต้องมีทักษะ ในการใช้งานที่ดี ต้องควบคุมแรงกด และเตรียม ผงกาแฟ ให้ถูกต้อง

รีวิว Flair 58 อ่านได้ตาม link ข้างล่างครับ
https://avguide.avbestbuy.com/archives/6017